(( ...กล่องดำ... "พยานปากสำคัญ ไขปริศนาสู่ความจริง" ))


บทความโดย บ้านนอกทีม บทความตั้งแต่ปี50นะครับ
http://topicstock.pantip.com/wahkor/topicstock/2007/09/X5838272/X5838272.html

...กล่องดำ... "พยานปากสำคัญ ไขปริศนาสู่ความจริง"

ถามมากันเยอะ ตั้งกระทู้กันหลายรอบ

มาดูกันดีกว่า ว่ากล่องดำที่เรียกกันติดปาก

มันคืออะไร???....

ทำไมถึงเรียกว่ากล่องดำ ?.

แล้วมันสีดำจริงหรือไม่ ?

กว่าจะเป็นกล่องดำต้องผ่านการทดสอบอะไรบ้าง

กระทู้นี้มีคำตอบให้จ๊ะ.......

**********************

เมื่ออากาศยานประสบอุบัติเหตุขึ้น

สองสิ่งแรกที่หน่วยกู้ภัยถึงที่เกิดเหตุ

คือต้องรีบค้นหาผู้รอดชีวิตและอุปกรณ์บันทึกข้อมูลการบิน

ที่รู้จักกันในนาม.......

“กล่องดำ”


เครื่องบินโดยทั่วไปจะต้องปฏิบัติตามกฎด้านการบิน

ในการติดตั้ง "กล่องดำ" สองชนิดสำหรับบันทึกข้อมูลการบิน

เพื่อช่วยจำลองเหตุการณ์ก่อนหน้า ที่จะเกิดอุบัติเหตุ

***********************************

กล่องแรกชื่อว่าซีวีอาร์ [Cockpit Voice Recorder : CVR] 

ทำหน้าที่บันทึกเสียงต่างๆ ในห้องนักบิน เช่นการโต้ตอบทางวิทยุการบิน เสียงของเครื่องยนต์ หรือเสียงการใช้อุปกรณ์ต่างๆในห้องนักบิน


อีกกล่องหนึ่งเรียกว่า เอฟดีอาร์ [Flight Data Recorder : FDR] ซึ่งคอยบันทึกค่าต่างๆ เช่นระยะสูง ความเร็ว และทิศทางบิน



ประวัติความเป็นมาของ “กล่องดำ”

           กล่องดำ [Black Box]  คือ อุปกรณ์สำหรับบันทึกข้อมูลการบิน (Flight Data Recorder : FDR) 

ซึ่งเป็นข้อมูลที่สามารถนำมาวิเคราะห์หาสาเหตุของอุบัติเหตุ

กล่องดำเริ่มนำมาใช้ในกิจการการบินตั้งแต่ พ.ศ.2493

กล่อง ดำเครื่องแรกที่มีใช้ใน สหราชอาณาจักร (ประมาณ พ.ศ.2500-2508) ใช้แถบแม่เหล็ก [Megnetic Tape] และแผ่นโลหะ [Stainless Steel] สำหรับเป็นสื่อเก็บข้อมูล บรรจุอยู่ในกล่องที่มีโครงสร้างที่ได้รับการสร้าง ให้มีความแข็งแรงทานทาน ต่อแรงกระแทกและทนต่อแรงเครียด ในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้

เช่น ไฟไหม้ แรงกดดันจากการจมน้ำ หรือแม้แต่แรงระเบิด ฯลฯ

กล่องดำส่วนใหญ่ติดตั้งไว้บริเวณ ***ส่วนหางของเครื่องบิน ***

ซึ่งเชื่อว่าเป็นบริเวณที่ได้รับความเสียหายน้อยที่สุดหากเครื่องบินลำนั้นประสบอุบัติเหตุ



สำหรับในประเทศสหรัฐอเมริกา

กล่องดำในยุคแรก ๆ จะใช้แผ่นฟอล์ย เป็นสื่อในการบันทึกข้อมูลการบิน แผ่นฟอล์ย 1 ม้วน

สามารถบันทึกข้อมูลการบิน ได้ถึง 200-400 ชั่วโมงด้วยกัน


           ในปี พ.ศ.2501

สมาพันธ์บริหารการบินแห่งสหรัฐอเมริกา

หรือ เอฟเอเอ (Federal Aviation Adiministration : FAA)  ได้ออกกฎหมายสำหรับใช้บังคับกับ เครื่องบินโดยสารของ ประเทศสหรัฐอเมริกาต้องติดตั้งกล่องดำทุกเครื่อง


ต่อมาในปี พ.ศ.2503 รัฐบาลของ สหราชอาณาจักร ได้ออกกฎหมายในทำนองเดียวกันนี้ ใช้บังคับกับเครื่องบินพาณิชย์ของตนเองที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 20,000 ปอนด์ขึ้นไป



ต่อมาในปี พ.ศ.2508

กล่องดำได้รับการปรับปรุงประสิทธิภาพ

***และทาสีกล่องให้เป็นสีเหลืองหรือสีส้ม****

*** เพื่อให้ง่ายต่อการค้นหา  ภายหลังเครื่องบินประสบอุบัติเหตุ***


แต่สาเหตุที่เรียกว่ากล่องดำนั้น

น่าจะมีเค้ามูลมาจากภาชนะที่บรรจุหรือติดตั้งอุปกรณ์ อีเล็คทรอนิกส์

ในเครื่องบินนั้นทาด้วยสีดำทั้งหมด

และเป็นลักษณะสี่เหลี่ยมคล้ายกล่อง

บ้างก็มีความเชื่อว่ากล่องดำในสมัยก่อนนั้นทาสีดำจริง ๆ

หรืออีกเหตุผลหนึ่งว่าเมื่อเครื่องบินตก

แล้วเกิดไฟไหม้อุปกรณ์ต่าง ๆ แล้วเป็นสีดำคล้ายสีเถ้าถ่าน

ก็เป็นข้อสันนิษฐานที่เคยพูดกันมา



เอฟดีอาร์  ในยุคที่ 2

ได้รับการผลิตใช้งานใน ปี พ.ศ.2513

เพื่อรองรับความจำเป็นในการบันทึกข้อมูลต่าง ๆ ที่มีจำนวนมากขึ้น

แต่ปัญหาของกล่องดำยังไม่หมดไป ซึ่งยังไม่สามารถรองรับสัญญาณที่ส่งมาจากเซ็นเซอร์ ได้ทั้งหมด จึงมีการพัฒนาอุปกรณ์รับข้อมูลการบิน

[Flight Data Acquisition Units : FDAUs] ขึ้นมาเพื่อประมวลผลสัญญาณที่ส่งมาจำนวนมากทั้งหมดก่อน

แล้วแปลงรูปแบบข้อมูลให้เป็นแบบดิจิตอล แล้วจึงส่งข้อมูลที่แปลงแล้วนั้นไปเก็บที่เอฟดีอาร์

ซึ่งจะถูกติดตั้งในตำแหน่ง ที่จะได้รับความเสียหายน้อยที่สุดเมื่อเกิดอุบัติเหตุ

นั่นคือบริเวณท้ายของเครื่องบิน อุปกรณ์รับข้อมูลการบินตัวนี้

อยู่ในห้องอุปกรณ์อิเลคทรอนิค ด้านล่างห้องนักบิน



เอฟดีอาร์  ในยุคที่ 2 นี้ใช้แถบแม่เหล็ก (คล้ายกับเทปเพลงในปัจจุบัน)

เป็นสื่อที่ใช้บันทึกข้อมูล มีความยาวประมาณ 300-500 ฟุต 

สามารถบันทึกได้นานถึง 25 ชั่วโมง

ต่อมาประมาณปี พ.ศ.2523

เครื่องบินพาณิชย์ที่ยังคงใช้กล่องดำในยุคแรกได้รับการเปลี่ยนให้มาใช้แบบดิจิตอลทั้งหมด (Digital Flight Data Recorder : DFDR)

เนื่องจากกฎหมายการบินสากลที่เพิ่งบังคับใช้ระบุว่า เอฟดีอาร์ ของเครื่องบินโดยสารต้องสามารถบันทึกข้อมูลการบิน

ได้อย่างน้อย 11 พารามิเตอร์

แต่ ดีเอฟดีอาร์  สมัยนั้นมีความสามารถในการบันทึกข้อมูลการบินได้ถึง 18 พารามิเตอร์


ในปี พ.ศ.2534

กฎหมายการบินสากลได้เปลี่ยนแปลง โดยให้เครื่องบินโดยสารติดตั้ง

ดีเอฟดีอาร์ ที่ใช้ระบบการบันทึกข้อมูลการบินแบบโซลิค-สเตสท์ [Solid-State] และบันทึกข้อมูลการบิน 34 พารามิเตอร์ต่อวินาที

มีความยาวในการบันทึก 25 ชั่วโมงซึ่งนับว่าเป็นการพลิกรูปแบบ
ของ เอฟดีอาร์รุ่นเก่าอย่างสิ้นเชิง

ในปัจจุบันนี้ บริษัทที่ผลิตเครื่องบินต่างๆ

ได้ใช้กล่องดำแบบ ดีเอฟดีอาร์         

ที่สามารถบันทึกข้อมูลการบินได้นานถึง 25 ชั่วโมง โดยบันทึกข้อมูลลง  หน่วยความจำอีเล็คทรอนิสก์

เมื่อบันทึกข้อมูลจนถึง 25 ชั่วโมงแล้ว ดีเอฟดีอาร์จะเริ่มบันทึก วนทับข้อมูลเดิม

จึง ไม่มีความจำเป็นต้องเปลี่ยนม้วนเทป หรือสื่อสำหรับเก็บข้อมูลเหมือนอย่างที่เคย เป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย และประหยัดเวลาในการซ่อมบำรุงเครื่องบินอีกด้วย

           ทุกวันนี้เอฟเอเอ ได้กำหนดให้เครื่องบินพาณิชย์ของประเทศสหรัฐอเมริกาต้องมี

เอฟดีอาร์ ที่สามารถบันทึกข้อมูลการบินได้ตั้งแต่ 11-29 พารามิเตอร์ขึ้นไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของเครื่องบินด้วย

เอฟดีอาร์ ที่ใช้ แถบแม่เหล็กสามารถบันทึกข้อมูลการบินได้ถึง 100 พารามิเตอร์

ในขณะที่ เอฟดีอาร์ที่ใช้การเก็บข้อมูลแบบโซลิค-สเตสท์ สามารถบันทึกข้อมูลได้มากกว่า 700 พารามิเตอร์



17 กรกฎาคม 2540

เอฟเอเอได้กำหนดให้เครื่องบินโดยสารในประเทศสหรัฐอเมริกา

ที่สร้างหลังวันที่ 19 สิงหาคม 2545

ต้องติดตั้ง เอฟดีอาร์

ที่มีคุณสมบัติสามารถบันทึกข้อมูลการบิน

ได้อย่างน้อย 88 พารามิเตอร์



ตัวอย่าง พารามิเตอร์ที่บันทึกลงใน FDR

           1. เวลา

           2. ระยะความสูง

           3. อัตราความเร็ว

           4. อัตราการไต่ขึ้น-ร่อนลง

           5. ทิศทางของเครื่องบิน

           6. ตำแหน่งของคันบังคับต่างๆ ในห้องนักบิน

           7. ตำแหน่งของรัดเดอร์

           8. ตำแหน่งของ คอนโทรล คอลัมน์

           9. ตำแหน่งของอีเวเลเตอร์

           10. การไหลของเชื้อเพลิง

           11.อุณหภูมิภายนอก

           12.ความกดอากาศ ในห้องผู้โดยสาร

           13.สมรรถนะเครื่องยนต์

                       ฯลฯ


ซีวีอาร์ [Cockpit Voice Recorder  : CVR]

           เป็นอุปกรณ์สำหรับบันทึกเสียงที่เกิดขึ้นภายในห้องนักบิน
โดยมีไมโครโฟนติดตั้งไว้ในตำแหน่งต่าง ๆ เ

พื่อบันทึกเสียงที่เกิดขึ้นภายในห้องนักบิน

เช่น การสนทนาของนักบิน และลูกเรือการติดต่อสื่อสาร

ระหว่างนักบินกับเจ้าหน้าที่บังคับการบิน เสียงสิ่งของตกพื้น
เสียงการผลักสวิตซ์ตำแหน่งต่าง ๆ เสียงเครื่องยนต์ เป็นต้น

           ไมโครโฟนที่ติดตั้งไว้จะรับสัญญาณเสียงแล้วส่งสัญญาณไปบันทึกไว้ที่ซีวีอาร์ ไมโครโฟนที่เชื่อมต่อกับ ซีวีอาร์ มีดังนี้

-ไมโครโฟนของนักบิน

-ไมโครโฟนของนักบินผู้ช่วย

-ไมโครโฟนของนักบินที่ 3       

-ไมโครโฟนที่ติดตั้งไว้ที่ตำแหน่งกลางห้องนักบิน
ที่สามารถรับเสียงสัญญาณฉุกเฉินต่างๆ ที่เตือนในห้องนักบิน

ซีวีอาร์ ที่ใช้แถบแม่เหล็ก ในการบันทึกเสียง 30 นาที
สุดท้ายของการบินและจะหมุนวนบันทึกทับข้อมูลเดิมเมื่อครบ 30 นาที

ในปัจจุบัน ซีวีอาร์ที่ใช้ในการบันทึกเสียง
แบบโซลิค-สเตสท์ สามารถบันทึกเสียงได้นานถึง 2 ชั่วโมง


อ่านต่อที่นี้

         


แก้ไขเมื่อ 27 มี.ค. 2558 21:19

ผู้โพส: gunhotnews
วันที่: 27 มี.ค. 2558 21:16
จำนวนคนเข้าชมทั้งหมด:4836
หมวด: ความรู้ทั่วไป

 

 

 

 

สุ่มกระทู้

 อาหารกับความเชื่อของหญิงตั้งครรภ์  18 พ.ค. 2558 21:07

 บุญราศี นิโคลาสบุญเกิด กฤษบำรุง (Blessed Nicholas Bunkerd Kitbamrung)  10 พ.ค. 2562 23:45

 การกลั่นแกล้งแสนน่ากลัว โดยไม่ต้องใช้กำลัง ในโรงเรียนญี่ปุ่น  27 มี.ค. 2562 17:44

 ฤดูหนาวบนปล่องภูเขาไฟทางตอนเหนือบนดาวอังคาร  02 พ.ค. 2560 12:37

 เผยภาพลับ สหรัฐฯเคยประจำการขีปนาวุธนิวเคลียร์ที่ญี่ปุ่น  23 ก.พ. 2559 20:04


1

ผู้โพส: nike zoom train action hv          วันที่:09 เม.ย. 2562 03:18          (บุคคลทั่วไป:36.248.162.xxx)

X
Loading........
1

ไปหน้าที่
 


  แสดงความคิดเห็น
 
 
 
ชื่อ
กรุณากรอกข้อความตามภาพ    *ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ทุกตัวและมีอักษรภาษาไทยผสม 
อัพโหลดรูปที่นี่ และนำโค๊ด HTML Code มาใส่ในข้อความที่ต้องการ