ยานอวกาศนิวฮอร์ไรซอนส์กับการสำรวจดาวพลูโตล่าสุด


ขอขอบคุณ บทความดีๆจาก สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ 
http://www.narit.or.th/index.php/astronomy-news/2075-new-horizons-pluto-new-image



15 มิถุนายน 2558

ภาย หลังจากการที่นักดาราศาสตร์ได้ส่งยานอวกาศนิวฮอร์ไรซอนส์ New Horizons ขึ้นสู่ห้วงอากาศกับภารกิจในการสำรวจดาวเคราะห์แคระพลูโตและวัตถุต่างๆ ที่อยู่บริเวณขอบด้านนอกถัดจากวงโคจรของดาวเคราะห์เนปจูนออกไปนอกระบบสุริยะ ที่นักดาราศาสตร์เรียกว่า แถบไคเปอร์ ทั้งนี้ภารกิจในการสำรวจดาวพลูโตของยานอวกาศ  นิวฮอร์ไรซันส์จะถึงเป้าหมายในวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 นี้ 

        การสำรวจดาวพลูโตนั้นทีมงานนักดาราศาสตร์วางแผนให้ยานสำรวจลำนี้ทำการเก็บ ข้อมูลอยู่เรื่อยๆ เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของดาวพลูโตในระยะต่างๆ และตรวจหาวัตถุขนาดเล็กบริเวณโดยรอบของดาวพลูโต เพื่อเป็นข้อมูลให้กับนักดาราศาสตร์ใช้ในการวางแผนสำรวจพร้อมกับปรับปรุง เทคนิคเครื่องมือให้เหมาะสมก่อนถึงจุดหมาย

        ล่าสุดข้อมูลที่ยานอวกาศลำนี้ได้ส่งกลับมายังโลก สามารถเผยให้เห็นถึงความแตกต่างของลักษณะพื้นผิวของดาวพลูโตที่มีความสว่าง และมืดคล้ำสลับกัน การสังเกตการณ์ในครั้งนี้เรายังสามารถสังเกตเห็นดวงจันทร์แครอนที่อยู่โคจร อยู่บริเวณโดยรอบได้อีกด้วย ทั้งนี้ข้อมูลที่ได้เป็นการสังเกตการณ์ในช่วงวันที่ 29 พฤษภาคม ถึง 2 มิถุนายน ที่ผ่านมา จากตำแหน่งของยานอวกาศทีี่อยู่ห่างจากดาวพลูโตกว่า 48 ล้านกิโลเมตร (แสดงดังภาพ)


 


ภาพดาว พลูโตจากการสังเกตการณ์โดยกล้องโทรทรรศน์Long Range Reconnaissance Imager (LORRI)ที่ติดตั้งไปกับยานอวกาศนิวฮอร์ไรซอนส์เผยให้เห็นความแตกต่างของพื้น ผิวในแต่ละตำแหน่งบนดาวพลูโต

ดังตำแหน่งจากซ้ายไปขวาคือลองจิจูด(17, 63, 130, and 243 องศาตามลำดับ)

อนุเคราะห์ภาพโดย: NASA/Johns Hopkins University Applied Physics Laboratory/Southwest Research Institute

 

        จากภาพนี้นักดาราศาสตร์ได้ปรับแกนของดาวพลูโตให้อยู่ในแนวตั้ง และเป็นการเก็บข้อมูลตลอดระยะเวลาที่ดาวพลูโตหมุนรอบซึ่งใช้เวลาถึง 6.4 วัน ทั้งนี้ภาพที่แสดงทั้งหมดเป็นช่วงที่ยานกำลังเคลื่อนที่เข้าหาดาวพลูโตทั้ง แต่วันที่ 29 พฤษภาคม ถึง  2 มิถุนายน ที่ผ่านมา ดังภาพเบื้องต้น 

        Alan Stern หนึ่งในทีมงานการสำรวจโดยยานนิวฮอร์ไรซอนส์จากสถาบัน Southwest Research Institute, Boulder, Colorado กล่าวว่า ถึงแม้ว่าภาพของดาวพลูโตจะมาจากการสังเกตการณ์ในระยะห่างกว่า 48 ล้านกิโลเมตร แต่ข้อมูลที่เราได้รับในครั้งนี้ นับว่าเป็นข้อมูลที่ช่วยเผยให้เห็นถึงความซับซ้อนของพื้นผิวดาวพลูโตได้เป็น อย่างดี ทั้งนี้หากเราสังเกตบริเวณทางซีกเหนือของดาวพลูโตเแล้ว เราจะพบว่าพื้นที่บริเวณนี้มีความมืดมากและมีบางส่วนที่มืดที่สุด


วิดีโอ https://www.youtube.com/watch?v=ftZ47euv_lU

ชุดภาพ

แสดง ให้เห็นถึงลักษณะของพื้นผิวของดาวพลูโตที่มีความแตกต่างกันขณะที่มีการหมุน อยู่รอบตัวเองและหากเราสังเกตจะพบว่าดาวพลูโตไม่ได้มีลักษณะเป็นทรงกลม เหมือนกับข้อมูลในอดีตที่เคยมีมาก่อนนี้

 

อนุเคราะห์โดย:NASA/Johns Hopkins University Applied Physics Laboratory/Southwest Research Institute



ภาพแสดง ผลจากการสังเกตการณ์ด้วยกล้องโทรทรรศน์LORRI ที่ติดไปกับยานและส่งกลับมายังโลกซึ่งภาพที่ปรากฎนีี้นักดาราศาสตร์ใช้ เทคนิคการประมวลผลภาพแบบdeconvolution เพื่อช่วยให้เราสามารถสังเกตรายละเอียดของดาวพลูโตได้ดีมากยิ่งขึ้น  อย่างไรก็ตามเรายังคงรอการยืนยันอีกครั้งในความละเอียดที่ดีกว่านี้ในอีกไม่ กี่สัปดาห์ข้างหน้าซึ่งเป็นช่วงที่ยานเข้าใกล้มากที่สุด

 

อนุเคราะห์โดย:NASA/Johns Hopkins University Applied Physics Laboratory/Southwest Research Institute

 

        ดังนั้นสิ่งที่เราได้พบในครั้งนี้คือ ความสว่างที่สามารถสังเกตได้บริเวณศูนย์สูตรกับความมืดมิดบริเวณขั้วเหนือ ของดาวพลูโต ด้วยข้อแตกต่างนี้ยังคงทิ้งให้เป็นปริศนาอยู่ว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น 

        นักวิทยาศาสตร์จากห้องปฏิบัติการฟิสิกส์ประยุกต์ของมหาวิทยาลัยจอนส์ ฮอปกินส์ (Johns Hopkins University Applied Physics Laboratory) ในรัฐแมริแลนด์ (Maryland) กล่าวว่า เราจะดึงข้อมูลรายละเอียดของดาวพลูโตให้ได้มากที่สุดและมันจะเป็นข้อมูลของ ดาวพลูโตที่เราไม่เคยมีมาก่อนจากโครงการสำรวจดาวพลูโตของยานอวกาศนิวออร์ไร ซอนส์ในครั้งนี้

        ในอดีตที่ผ่านมาเราพบหลักฐานความแตกต่างของแสงสว่างที่เปลี่ยนแปลงเช่นนี้ จากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลแต่ภาพใหม่เหล่านี้จะช่วยให้เราได้เห็นถึงราย ละเอียดและสามารถเรียนรู้ในสิ่งที่เกิดขึ้นบนผิวของดาวพลูโตได้ดีมากยิ่ง ขึ้นกว่าเดิม และในช่วงต้นเดือนกรกฎาคมที่จะถึงนี้ เราจะมีหลักฐานและข้อมูลที่ช่วยให้เราได้ทราบเกี่ยวกับคุณสมบัติทางเคมีได้ เพิ่มมากขึ้นด้วยการวัด spectroscopy 

        ณ ตอนนี้ ยานอวกาศนอวฮอร์ไรซอนส์อยู่ห่างจากโลก 47 พันล้านกิโลเมตร และห่างอยู่ห่างจากดาวพลูโตประมาณ 39 ล้านกิโลเมตร ข้อมูลที่ส่งมายังบอกว่ายานอวกาศลำนี้ยังทำงานได้ดีและพร้อมสำหรับการเผชิญ หน้าในช่วงเดือนกรกฎาคมนี้ 

        “การสำรวจและศึกษาดาวพลูโตอาจเป็นกุญแจดอกหนึ่งที่ทำให้นักดาราศาสตร์ได้ เข้าใจถึงวิวัฒนาการและ ต้นกำเนิดขอบระบยสุรินะได้อีกด้วย”

 

 

เรียบเรียงโดย 

บุญญฤทธิ์  ชุนหกิจ

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

แหล่งข้อมูล http://www.nasa.gov/feature/different-faces-of-pluto-emerging-in-new-images-from-new-horizons


ผู้โพส: gunhotnews
วันที่: 07 ก.ค. 2558 00:40
จำนวนคนเข้าชมทั้งหมด:5562
หมวด: วิทยาศาสตร์

 

 

 

 

สุ่มกระทู้

 มลพิษในอากาศเป็นสาเหตุอันดับต้นที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดในสมอง  13 มิ.ย. 2559 22:13

 "เหยี่ยวประจัญบาน" เอฟ-16 วันวานถึงวันนี้ 40ปีที่ยืนยาว  09 มิ.ย. 2558 00:34

 ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ของโลก  13 พ.ย. 2559 13:21

 มารู้จัก AIP เรื่อดำน้ำของจีน  09 ก.ค. 2558 00:52

 &&--ทะเลแห่งความตาย ในยุคดึกดำบรรพ์--&&  29 มี.ค. 2558 00:28


1

ผู้โพส: hoyerequip          วันที่:17 เม.ย. 2562 07:44          (บุคคลทั่วไป:36.250.186.xxx)

X
Loading........

2

เพื่อนๆสามารถชมรูปภาพล่าสุด หรืออัพเดทข้อมูลต่างๆได้ผ่านเว็บไชต์ https://www.nasa.gov/mission_pages/newhorizons/main/index.html นะครับ 

ผู้โพส: gunhotnews          วันที่:07 ก.ค. 2558 00:43          

X
Loading........
1

ไปหน้าที่
 


  แสดงความคิดเห็น
 
 
 
ชื่อ
กรุณากรอกข้อความตามภาพ    *ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ทุกตัวและมีอักษรภาษาไทยผสม 
อัพโหลดรูปที่นี่ และนำโค๊ด HTML Code มาใส่ในข้อความที่ต้องการ