กล้องโทรทรรศน์ฮับเบิลพบว่าแสงเดินทางเป็นเส้นโค้งบริเวณดาวแคระขาวได้เป็นครั้งแรก
บทความและรูปภาพทั้งหมดเขียนโดย enjoy-science.org
http://www.enjoy-science.org/th/the-media/in-the-news/item/486-2017-07-03-02-19-23
gunhotnewsขอขอบคุณครับ
gunhotnewsขอขอบคุณครับ
กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล (Hubble Space Telescope) สามารถตรวจจับปรากฏการณ์ที่แสงเดินทางเป็นเส้นโค้งเนื่องจากความโน้มถ่วงบริเวณดาวแคระขาว (White-dwarf star) ที่มีชื่อว่า Stein 2051 B ได้ (ดาวแคระขาวคือแก่นที่หลงเหลืออยู่ของดาวฤกษ์มวลน้อยหลังจากที่มันได้เผาเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ของมันจนหมดสิ้นแล้ว) ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่นักดาราศาสตร์สังเกตเห็นความโค้งของกาลอวกาศรอบดาวฤกษ์ดวงอื่นที่ไม่ใช่ดวงอาทิตย์สำเร็จ ที่สำคัญการค้นพบนี้ยังสอดคล้องกับทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของไอน์สไตน์ด้วย
ทีมนักวิจัยนำโดย Kailash Sahu นักดาราศาสตร์ที่สถาบันด้านกล้องโทรทรรศน์อวกาศ (Space Telescope Science Institute) ในเมืองบัลติมอร์ รัฐแมรีแลนด์ ทำการสังเกตดาวแคระขาว Stein 2051 B เป็นจำนวน 8 ครั้งระหว่างเดือนตุลาคม ปี ค.ศ. 2013 ถึงเดือนตุลาคม ปี ค.ศ. 2015 โดยดาวแคระขาวดวงนี้อยู่ห่างจากโลก 17 ปีแสง ปรากฏในกลุ่มดาวยีราฟ (Camelopardalis) และมันเป็นดาวแคระขาวที่อยู่ใกล้โลกเป็นลำดับที่ 6
การสังเกตการณ์พบว่าตำแหน่งของดาวฤกษ์ที่อยู่ห่างจากออกไปมีการเปลี่ยนตำแหน่งไปเล็กน้อยเนื่องจากแสงที่เดินทางเข้ามาใกล้ดาวแคระขาวเบี่ยงเบนไปในมุมมองของผู้สังเกตที่อยู่บนโลก แม้ว่ามันจะเป็นการเปลี่ยนตำแหน่งเพียงเล็กน้อยมากๆ แต่ก็เพียงพอที่จะยืนยันได้ว่าแรงโน้มถ่วงทำให้แสงของดาวฤกษ์เดินทางเป็นเส้นโค้งได้จริงๆ และจากการวัดปริมาณความโค้งของแสงทำให้นักดาราศาสตร์สามารถคำนวณมวลของดาวแคระขาวดวงนี้ได้ ประมาณ 67% ของมวลดวงอาทิตย์
Martin Dominik นักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัย St Andrews, สหราชอาณาจักร กล่าวว่า“ปรากฏการณ์นี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อ Astrometric microlensing และอาจมีงานวิจัยอื่นๆ แบบนี้อีกมากมายที่กำลังจะเกิดขึ้นเรื่อยๆในอนาคต นอกจากนี้กล้องโทรทรรศน์อวกาศไกอา (Gaia space telescope) ขององค์การอวกาศยุโรปกำลังทำแผนที่งที่แม่นยำของดาวฤกษ์หนึ่งพันล้านดวงและมันอาจตรวจจับปรากฏการณ์ Astrometric microlensing ในลักษณะนี้กับระบบต่างๆได้มากถึง 1,000 ระบบด้วย ”
การเดินทางเป็นเส้นโค้งของแสงถูกสังเกตการณ์เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1919 โดยนักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษ เซอร์ อาเธอร์ เอดดิงตัน (Sir Arthur Eddington) ในครั้งนั้นเขาพบว่าแสงของดาวฤกษ์เดินทางเป็นเส้นโค้งเมื่อเข้ามาเฉียดใกล้ดวงอาทิตย์
แล้วเขาสามารถสังเกตเห็นเห็นแสงดาวฤกษ์กับดวงอาทิตย์ได้พร้อมๆกันได้อย่างไร ในเมื่อแสงอาทิตย์สว่างจ้าจนจบแสงจากดาวฤกษ์จนหมด?
เซอร์ อาเธอร์ เอดดิงตัน ได้ลงทุนเดินทางไปสังเกตปรากฏการณ์ดังกล่าวในช่วงที่เกิดสุริยุปราคาเต็มดวงที่เกาะปรินซิปี (Príncipe) ที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยเซาตูเมและปรินซีปี ซึ่งเกาะดังกล่าวอยู่นอกชายฝั่งทิศตะวันตกของทวีปแอฟริกา สุริยุปราคาเต็มดวงเกิดจากการที่ดวงจันทร์เคลื่อนเข้ามาบังแสงจากดวงอาทิตย์ไว้อย่างสมบูรณ์จนเราสามารถสังเกตเห็นดาวฤกษ์ได้แม้จะเป็นตอนกลางวัน ผลการสังเกตของเอดดิงตันสอดคล้องกับทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของไอน์สไตน์ทำให้ให้ไอน์สไตน์กลายเป็นนักฟิสิกส์ที่มีชื่อเสียง
ในเวลาต่อมา นักวิจัยที่ได้สังเกตเห็นแสงจากกาแล็กซีที่อยู่ห่างไกลมากๆเดินทางเป็นเส้นโค้งเนื่องจากแรงโน้มถ่วงของกาแล็กซี่อื่นๆที่อยู่ใกล้โลกมากกว่า แต่งานวิจัยชิ้นใหม่นี้เป็นครั้งแรกที่นักฟิสิกส์ได้สังเกตเห็นวัตถุเพียงวัตถุเดียวคือดาวแคระขาวทำให้ดาวฤกษ์พื้นหลังเกิดการเปลี่ยนตำแหน่งไป และเนื่องจากดาวแคระขาวดวงนี้อยู่ค่อนข้างใกล้โลก นักวิจัยจึงสังเกตเห็นว่ามันเปลี่ยนตำแหน่งอย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับดาวฤกษ์ที่อยู่ไกลกว่า ก่อนหน้านี้ Kailash Sahu และเพื่อนร่วมงานของเขาคำนวณไว้ว่าในปี ค.ศ. 2014 ดาวแคระขาวดวงนี้จะเคลื่อนที่มาอยู่ด้านหน้าของดาวฤกษ์ที่อยู่ห่างออกไป 5,000 ปีแสง ทำให้พวกเขาสามารถใช้กล้องโทรทรรศน์ฮับเบิลเก็บภาพปรากฏการณ์นี้ไว้ได้
ทีมนักวิจัยของ Kailash Sahu กำลังค้นหาปรากฏการณ์ในลักษณะนี้อีกโดยครั้งนี้พุ่งเป้าไปที่เป็นดาวพร็อกซิมา เซนทอรี (Proxima Centauri) ซึ่งเป็นดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุด โดยห่างจากโลกเราเพียง 4 ปีแสงเท่านั้น ขณะนี้พวกเขาได้รับข้อมูลจากการสังเกตการณ์จากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลแล้วและกำลังวิเคราะห์ข้อมูลอยู่
ผลลัพธ์ที่ได้น่าจะทำให้ทุกคนตระหนักถึงพลังและความยิ่งใหญ่แห่งกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลที่ทำงานมาร่วม 27 ปีและเป็นอุปกรณ์สำคัญที่ทำให้มนุษย์เราได้มองเห็นเอกภพได้ชัดเจนยิ่งขึ้นนี้เป็นอย่างดี
เรียบเรียงโดย ศิวรุต พลอยแดง
อ้างอิง
http://www.nature.com/news/hubble-sees-light-bending-around-nearby-star-1.22108
แก้ไขเมื่อ 06 ก.ค. 2560 14:24
สุ่มกระทู้
LIGO ยืนยันการตรวจพบคลื่นความโน้มถ่วงเป็นครั้งแรก | 12 ก.พ. 2559 23:48 |
บทวิเคราะห์จุดเริ่มต้นและจุดจบของ Airbus A380 | 20 ก.พ. 2562 00:08 |
ภาพดาวเคราะห์น้อย 2017 BQ6 | 21 ก.พ. 2560 12:47 |
การแพร่กระจายเชื้อแบคทีเรียด้วยโทรศัพท์มือถือ | 13 ก.ค. 2558 21:09 |
ซูเปอร์โนวา ระเบิดล้างจักรวาล ภาค2 | 26 มี.ค. 2558 14:36 |
1
เป็นการวิจัยที่สุดยอดมาก ๆ เลยคะ กับไปสังเกตปรากฏการณ์ต่าง ๆ มาให้เป็นความรู้ของเรา
Gclub
X
1
Loading........