เทวทาสี สตรีผู้ทรงศักดิ์ สู่ภาพลักษณ์นางบำเรอวัด
บทความและรูปภาพทั้งหมดเขียนโดยคุณ ฮินดูอินดี้
https://www.facebook.com/thaihinduindy/photos/a.149802012463414/207398303370451/?type=3&theater&ifg=1
gunhotnewsขอขอบคุณครับ
เทวทาสี สตรีผู้ทรงศักดิ์ สู่ภาพลักษณ์นางบำเรอวัด

แต่เดิมพวกนางมีหน้าที่ในการรับใช้พระเจ้าอย่างจงรักภักดี และ ที่สำคัญพวกนางต้องถือพรหมจรรย์ เพราะ เมื่ิอเข้ามารับหน้าที่แล้ว พวกนางจะมีสถานะศักดิ์สิทธิ์ในฐานะภรรยาของพระเป็นเจ้า ฉะนั้น เดิมแล้วพวกนางไม่ใช่นางบำเรอของนักบวช หรือ นางหญิงงามเมือง อีกทั้งเดิมยังเชื่อว่าการได้นางเป็นเมียนั้นเป็นบาปมาก เพราะนางบริสุทธิ์เกินกว่าบุรุษใดจะควรคู่
แต่เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 18 , 19 จักรวรรดิมุสลิมได้ขยายตัวอย่างมาก เทวสถานจำนานมากได้รับผลกระทบอย่างหนัก สังคมฮินดูเดิมเกิดภาวะข้าวยากหมากแพง เทวสถานจำนวนไม่น้อยถูกทิ้งร้าง เทวทาสีซึ่งไม่สามารถประกอบอาชีพอะไรได้ เพราะ อยู่อาศัยแต่ในวัด เรียนรู้แต่ความภักดีต่อพระเป็นเจ้า ทำให้ต้องหาที่พึ่งพิงอื่น คือ เข้าไปสู่ราชสำนักที่ยังพอเป็นที่พึ่งได้ กลายเป็น "ราชยทาสี" (ทาสสตรีของกษัตริย์) เมื่อเข้าสู่ระบบของราชสำนักพวกนางซึ่งมีความงามมากก็ถูกบีบให้ต้องทำการละทิ้งความบริสุทธิ์ของตนเพื่อเอาตัวรอดให้ท้องอิ่ม นอนหลับ พวกนางจึงกลายเป็นนางบำเรอ และ นางงามเมือง
อีกทั้งภาวะระสำระสายของภาวะปากท้องของสังคมฮินดูที่ยังไม่คุ้นชินกับผู้ปกครองใหม่ จึงยิ่งบีบให้ครอบครัวส่งลูกสาวของตนออกเป็นเทวทาสี เพื่อลดภาระปากท้องในครัวเรือน แต่เมื่อยิ่งมีมาก แต่เทวสถานมีน้อย และ มีกำลังทรัพย์ในการดูแลที่น้อยลง นางเทวทาสีก็ถูกลอยแพ ยอมละทิ้งความสาวของตนแลกกับปากท้องเพิ่มขึ้นไปอีก
พุทธศตวรรษที่ 23 อังกฤษเข้าปกครองอินเดีย และ มองว่าระบบนี้คือความอัปยศของสังคมฮินดู เหมือนพิธีสตี จึงออกบทบัญญัติมัทดาสเพื่อยกเลิกระบบนี้อย่างสิ้นเชิง กระนั้นยังคงมีการลอบถวายตัวอยู่เนือง ๆ และ นางเทวทาสีผู้ยืนหยัดในความรักต่อพระเป็นเจ้า (เรียกว่า มหาริ) ก็ยังคงยืนหยัดรับใช้พระเป็นเจ้าอยู่ พวกนางนี่เองเป็นผู้ให้กำเนิดท่าเต้นนาฏยัมต่าง ๆ การดนตรี ขับร้องต่าง ๆ มากมาย ดังนั้นเมื่อมองระบบนี้ที่กดทับสตรีมากว่าพันปี จะพบว่าระบบที่พยายามอุ้มชูสตรีภายใต้มุมมองชายนั้น ส่งผลกับการจำกับสตรีอย่างมาก แม้ปัจจุบันนี้เทวทาสีก็ยังดำรงอยู่ในหลายพื้นที่เช่น ทมิฬนาฑู เกราละ เบงกอล อานธระ เป็นต้น ฉะนั้นก็ต้องลองศึกษากันต่อไปว่าสตรีจะมีกรอบอันใดเกิดขึ้นอีก แต่ที่แน่ ๆ ภาพจำที่ผู้คนถ่ายทอดต่อกัน (โดยอย่างยิ่งอังกฤษ) ทำให้เทวทาสีถูกตีกรอบให้อย่างน่าเศร้า และ กรอบนั้นดูแล้วก็บดบังการเข้าศึกษาพวกนางด้วย
#แอดมินฉินทาส
ปล. ภาพนางเทวทาสีชาวทมิฬ
ที่มาภาพ : https://en.m.wikipedia.org/wiki/Devadasi
ผู้โพส: gunhotnews
วันที่: 25 ก.พ. 2562 13:36
จำนวนคนเข้าชมทั้งหมด:1593
หมวด: ความรู้ทั่วไป
สุ่มกระทู้
ความรู้ใหม่ที่น่าสนใจมากเลยค่ะ
gclub
แก้ไขเมื่อ 29 มี.ค. 2562 16:24
ผู้โพส: บูริน หมูอวกาศ
วันที่:29 มี.ค. 2562 16:24
1