(( ...กล่องดำ... "พยานปากสำคัญ ไขปริศนาสู่ความจริง" )) ภาค2


บทความโดย บ้านนอกทีม บทความตั้งแต่ปี50นะครับ
http://topicstock.pantip.com/wahkor/topicstock/2007/09/X5838272/X5838272.html

อ่านภาคแรก

เอฟดีอาร์ [Flight Data Recorder : FDR]

           เป็นอุปกรณ์สำหรับบันทึกสภาพการทำงานของส่วนต่าง ๆ ของเครื่องบินในแต่ละเที่ยวบิน

กฏหมายการบินสากลในปัจจุบันนี้กำหนดให้เครื่องบินที่ผลิตจากโรงงานต้องติดตั้งเอฟดีอาร์

ที่ มีความสามารถในการบันทึกข้อมูลการบินที่สำคัญอย่างน้อย 68 พารามิเตอร์ เช่น เวลา ระยะสูง ความเร็ว ทิศทางที่บิน และท่าทางการบิน เป็นต้น

           นอกจากนี้ในปัจจุบันเอฟดีอาร์ บางรุ่นยังสามารถบันทึกสถานะการบินและท่าทางของเครื่องบินได้มากกว่า 300 พารามิเตอร์

ที่สามารถใช้ประโยชน์ในการสอบสวนอากาศยานอุบัติเหตุได้อีกด้วย
ข้อมูลที่ได้รับจากเอฟดีอาร์ นี้ เจ้าหน้าที่สอบสวนอากาศยานอุบัติเหตุ

นำไปสร้างภาพจำลองเหตุการณ์ก่อนและขณะเครื่องบินเกิดอุบัติเหตุได้เหมือนเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้น

เช่น ท่าทางการบิน ขณะนั้น ค่าที่อ่านได้จากแผงเครื่องวัดประกอบการบินในห้องนักบิน

หรือ กำลังเครื่องยนต์ ขณะเครื่องบินประสบอุบัติเหตุ
และข้อมูลการบินอื่น ๆ อีกที่เป็นประโยชน์
ต่อการสอบสวนหาสาเหตุที่เกิดขึ้นได้

******************
เจอแล้วกล่องดำ ---


ทั้ง เอฟดีอาร์ และซีวีอาร์ นับว่าเป็นเครื่องมือที่เป็นประโยชน์
และช่วยให้การสอบสวนหาสาเหตุ
ของอากาศยานอุบัติเหตุมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ข้อมูลการบินที่ยุ่งยากสลับซับซ้อนที่ได้บันทึกไว้ในเอฟดีอาร์
เมื่อนำไปประมวลผลร่วมกับข้อมูลการบินอื่น ๆ
จะช่วยให้สามารถวิเคราะห์หาสาเหตุของอุบัติเหตุได้ในที่สุด

*************
----เจอพยานปากเอก ในคืนเกิดเหตุ---



***เมื่อเครื่องบินตก ทำไมกล่องดำจึงคงอยู่ได้ ?***

           ในการเกิดอากาศยานอุบัติเหตุแต่ละครั้ง
มีเพียงอุปกรณ์เดียวที่มีคุณสมบัติ ที่ได้รับการออกแบบมา
เพื่อให้สามารถทนทานต่อแรงระเบิด
หรือทนต่อแรงกระแทกอย่างรุนแรงจากอุบัติเหตุ

ได้คือกล่องซีเอสเอ็มยู
[Crash-Survivable Memory Units : CSMUs]

เป็นอุปกรณ์ที่บรรจุ เอฟดีอาร์ และซีวีอาร์ไว้ภายใน



           จากสภาพอากาศยานที่เกิดอุบัติเหตุทั่ว ๆ ไปแล้ว

สภาพของกล่องดำและอุปกรณ์ภายใน
จะถูกทำลายหรือชำรุดเสียหาย หากไม่มีกล่องซีเอสเอ็มยู
อุปกรณ์นี้เป็นกล่องโลหะกลวงบรรจุ เอฟดีอาร์หรือซีวีอาร์
ไว้ภายใน ซึ่งกล่องซีเอสเอ็มยู นี้มีความแข็งแรง
ทนทานต่อความร้อนสูง ทนการกระแทกอย่างรุนแรง

และทนต่อแรงกดดันอย่างมหาศาล
ที่เกิดขึ้นขณะเครื่องบินตกกระทบพื้น
หรือเกิดระเบิดในอากาศ

********-
สภาพ แค่มีรอยไหม้ --- แต่ไม่แตกออก ---


โครงสร้างของกล่องซีเอสเอ็มยู ประกอบด้วย 3 ชั้น ดังนี้

* ชั้นแรกเป็น อลูมินั่มบาง ๆ ห่อหุ้มรอบเมมโมรี่ การ์ดซึ่งอยู่ชั้นในสุด

*ชั้นที่สองเป็น ฉนวนทนความร้อนสูง (High  temperature insulation) เป็นวัสดุที่ทำด้วยซิลิก้า แห้งหนา 1 นิ้ว
วัสดุนี้จะช่วยป้องกันไม่ให้ไฟไหม้
เมมโมรี่บอร์ดภายหลังเกิดอุบัติเหตุ

*ชั้นที่สามเป็น ฉนวนทนความร้อนสูง
ผสมอยู่ในแผ่นสเตลเลส มีความหนา 0.25 นิ้ว
เป็นชั้นที่อยู่นอกสุดของกล่องซีเอสเอ็มยู
บริษัทผู้ผลิตกล่องดำ บางรายใช้วัสดุไททาเนียมแทนก็มี



           บริษัทผู้ผลิตได้ทดสอบความทนทานในหลาย ๆ ด้าน

เพื่อเป็นการรับรองว่ากล่องดำนั้นคงอยู่ได้

ในสภาพที่ยังคงสามารถใช้ข้อมูลที่บันทึกอยู่ภายในได้

หลังจากอากาศยานประสบอุบัติเหตุ เช่น

           -  ทดสอบโดยการยิงกล่องซีเอสเอ็มยู
ในลักษณะเดียวกันกับการยิงลูกปืนใหญ่
โดยให้มีแรงกระแทกประมาณ 3,400 จี

ที่แรงกระแทกนี้กล่องซีเอสเอ็มยู
จะกระทบกับเป้าซึ่งเป็นแผ่น อลูมินั่มมีลักษณะคล้ายรวงผึ้ง
ซึ่งเป็นแรงกระแทกที่มีความแรงประมาณเดียวกัน

หรือมากกว่าแรงที่กล่องซีเอสเอ็มยู
จะประสบขณะเครื่องบิน ประสบอุบัติเหตุ

- การทดสอบความทนต่อการทะลุทะลวงของวัตถุที่มากระทบ

โดยการปล่อยวัตถุมีน้ำหนัก 227 กิโลกรัม (500 ปอนด์)

มีส่วนแหลม 0.25 นิ้ว

อยู่ด้านล่างแล้วปล่อยจากระยะสูง 10 ฟุต (3 เมตร)



- การทดสอบความทนต่อแรงดัน

โดยให้กล่องซีเอสเอ็มยูอยู่

ภายใต้แรงกดดันคงที่ขนาด 5,000 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว

เป็นเวลา 5 นาที โดยทดสอบทั้ง 6 แกนหลักของ กล่องซีเอสเอ็มยู


- การทดสอบความทนไฟ

โดยการฉีดไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงโพรเพน

ฉีดใส่ กล่องซีเอสเอ็มยู 3 ทาง พร้อม ๆ กัน

ด้วยอุณหภูมิ 1,100 องศาเซลเซียส (2,000 ฟาเรนไฮต์)

เป็นเวลานาน 4 ชั่วโมง



- การทดสอบจมอยู่ใต้น้ำทะเลลึกเป็นเวลานาน 24 ชั่วโมง

 - การทดสอบการตกอยู่ในสภาพน้ำเค็มจัดเป็นเวลา 30 วัน

-  การทดสอบชิ้นส่วนภายในกล่องซีเอสเอ็มยู
ในของเหลวต่าง ๆ ที่มีอยู่ในเครื่องบิน
เช่น เชื้อเพลิง หล่อลื่น และสารเคมี สำหรับดับเพลิง เป็นต้น


เมื่อเครื่องบินประสบอุบัติเหตุ
ตกกลางทะเลจะค้นหากล่องดำได้อย่างไร ?

           เครื่องบันทึกการบินแต่ละเครื่อง
จะต้องประกอบด้วยเครื่องแจ้งตำแหน่งใต้น้ำ
(Underwater Locator Beacon - ULB)

หรือเรียกว่า "พินเกอร์" เพื่อช่วยการค้นหาในกรณีอุบัติเหตุเหนือน้ำ
พินเกอร์ จะทำงานเมื่อจมน้ำโดยจะส่งคลื่นเสียงความถี่ 37.5 kHz

อุปกรณ์นี้สามารถส่งสัญญาณได้จากความลึกถึง 14,000 ฟุต
หน่วยกู้ภัยจะใช้อุปกรณ์ค้นหาสัญญาณพินเกอร์
[Pinger Locator System  :PLS]

ลากไปในน้ำ ให้รับสัญญาณจากพินเกอร์
เพื่อค้นหาตำแหน่งของ "กล่องดำ"


    เมื่อพบกล่องดำแล้ว เจ้าหน้าที่จะขนส่งอย่างระมัดระวัง
เพื่อนำไปเข้ากระบวนการตรวจสอบ โดยคงสภาวะเดิมให้มากที่สุด

หากค้นพบในน้ำ เครื่องบันทึกจะถูกส่งไปในถังบรรจุพร้อมกับน้ำ

เพราะหากเครื่องบันทึกแห้งลง ข้อมูลอาจสูญเสียไปได้


    ด้วยอุปกรณ์และคอมพิวเตอร์ที่สลับซับซ้อน

ข้อมูลที่บันทึกไว้จะได้รับการแปลงรูปแบบให้สามารถเข้าใจง่าย
เพื่อนำไปประกอบกับหลักฐานอื่นๆ

ในการพิจารณาสาเหตุที่แท้จริงต่อไป
หากเครื่องบันทึกไม่เสียหายมากนัก
ผู้สอบสวนเพียงต่อเครื่องบันทึกเข้ากับเครื่องอ่าน

ก็จะทราบข้อมูลได้ภายใน 2 - 3 นาที
แต่บ่อยครั้งพบว่าเครื่องบันทึก
ที่ค้นหาได้จากซากเครื่องบินจะบุบสลายและถูกเผาไหม้
ในกรณีเช่นนี้ แผงหน่วยความจำ จะถูกถอดออกมาทำความสะอาด

และเชื่อมโยงเข้ากับเครื่องบันทึกอีกเครื่องหนึ่งที่มีซอร์ฟแวร์พิเศษ

ที่สามารถถ่ายเทข้อมูลได้

โดยไม่มีการเขียนทับหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลเดิม



-- จุดติดตั้ง กล่องดำ และเครื่องมือรับสัญญาณต่างๆ
-----




ทั้งซีวีอาร์ และเอฟวีอาร์ เป็นเครื่องมือล้ำค่าในการหาสาเหตุของอุบัติเหตุ ด้วยวิวัฒนาการด้านเทคโนโลยี

"กล่องดำ" ยังคงเป็นอุปกรณ์ชนิดเดียว
ที่ทำหน้าที่อย่างเยี่ยมยอดในการให้ข้อมูลหลักฐาน
ที่หาไม่ได้ด้วยวิธีอื่น

แหล่งข้อมูล

            http://www.howstuffworks.com/black-box/htm

            http://www.airdisaster.com

            http://aviation-safety.net

            http://www.sciam.com




บทความโดย บ้านนอกทีม บทความตั้งแต่ปี50นะครับ
http://topicstock.pantip.com/wahkor/topicstock/2007/09/X5838272/X5838272.html


แก้ไขเมื่อ 28 มี.ค. 2558 00:54

ผู้โพส: gunhotnews
วันที่: 27 มี.ค. 2558 21:22
จำนวนคนเข้าชมทั้งหมด:5423
หมวด: ความรู้ทั่วไป

 

 

 

 

สุ่มกระทู้

 โบท็อกซ์อัณฑะ? คืออะไร  03 ต.ค. 2559 16:35

 การเดินทางของยานสำรวจอวกาศจูโน  07 ก.ค. 2559 21:19

 How Alpha Go Work (วิธีการทำงาน)  13 มี.ค. 2559 22:15

 เครื่องบินพลังงานนิวเคลียร์  29 พ.ค. 2558 01:48

 เซอร์ริชาร์ด แบรนด์สัน เปิดตัวยานอวกาศรุ่นใหม่ท่องเที่ยวนอกโลก  22 ก.พ. 2559 14:32


1

ผู้โพส: riffsurfers          วันที่:03 เม.ย. 2562 20:43          (บุคคลทั่วไป:36.248.168.xxx)

X
Loading........

2

ผู้โพส: nike lunartempo blue lago          วันที่:30 มี.ค. 2562 01:47          (บุคคลทั่วไป:36.248.162.xxx)

X
Loading........
1

ไปหน้าที่
 


  แสดงความคิดเห็น
 
 
 
ชื่อ
กรุณากรอกข้อความตามภาพ    *ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ทุกตัวและมีอักษรภาษาไทยผสม 
อัพโหลดรูปที่นี่ และนำโค๊ด HTML Code มาใส่ในข้อความที่ต้องการ