รูปแบบธารน้ำ
รูปแบบธารน้ำ - นอกจากนี้ จากการศึกษาธารน้ำในธรรมชาติ นักธรณีวิทยาพบว่าทิศทางการไหลของธารน้ำขึ้นอยู่กับภูมิประเทศที่เป็นผลมาจากลักษณะทางธรณีวิทยาในแต่ละพื้นที่ ทำให้เกิด #รูปแบบธารน้ำ (drainage pattern) ที่มีลักษณะเฉพาะแตกต่างกัน
.
1) #รูปแบบกิ่งไม้ (dendritic pattern) เป็นรูปแบบที่พบมากและโดดเด่นที่สุด เกิดบริเวณที่มีหินชนิดเดียวกันหรือหินมีเนื้อแน่น มีมุมของธารน้ำที่ไหลมาเชื่อมกันเป็นมุมแหลม
.
2) #รูปแบบตั้งฉาก (rectangular pattern) เป็นรูปแบบที่เกิดจากธารน้ำไหลในบริเวณที่มีรอยแตกหินตัดตั้งฉากกัน โดยธารน้ำจะไหลขนานกันมาตามแนวรอยแตกเป็นมุมฉากโดยส่วนใหญ่
.
3) #รูปแบบเถาองุ่น (trellis pattern) เป็นรูปแบบที่พบในพื้นที่ซึ่งมีการสลับชั้นกันระหว่างชั้นหินแข็งและอ่อน
.
4) #รูปแบบรัศมี (radial pattern) เป็นรูปแบบที่เกิดจากภูเขาลูกโดด ธารน้ำไหลจากยอดเขาไหลแผ่กระจายไปทุกทิศทางลงมาด้านล่าง
.
5) #รูปแบบขนาน (parallel pattern) เป็นรูปแบบที่โดยส่วนใหญ่พบในบริเวณที่มีรอยแตกของหินชัดเจนเพียงทิศเดียว
.
6) #รูปแบบวงแหวน (annular pattern) เป็นรูปแบบที่พบในพื้นที่ที่มีโครงสร้างทางธรณีวิทยาแบบ โดม (dome) หรือ แอ่งกะทะ (basin) และมีการกัดกร่อนจนเป็นตัวควบคุมการไหลของน้ำ
.
#ภาพ : รูปแบบธารน้ำ (Christopherson, 1994)
บทความทั้งหมดเขียนเรียบเรียงโดยคุณ มิตรเอิร์ธ - mitrearth
แก้ไขเมื่อ 25 เม.ย. |+2025| 07:18
![]() |
18 เม.ย. |+2015| 17:15 |
![]() |
07 พ.ค. |+2016| 01:55 |
![]() |
18 เม.ย. |+2016| 00:26 |
![]() |
03 ก.ค. |+2015| 17:33 |
![]() |
29 เม.ย. |+2015| 00:42 |
จำนวนคอมเม้น: 0ยังไม่มีความคิดเห็น