อาหารกับความเชื่อของหญิงตั้งครรภ์
บทความจากเว็บไชต์ วิชาการ
http://www.vcharkarn.com/varticle/502142
อาหารกับความเชื่อของหญิงตั้งครรภ์
เป็นคำถามที่คุณแม่มือใหม่ทั้งหลายต่างปวดหัวไปตามๆ กัน เพื่อหาคำตอบว่าอาหารแบบไหนที่ดีต่อลูกในครรภ์ และแบบไหนที่ต้องหลีกเลี่ยง
เช่นในประเทศเกาหลี คนท้องควรกินซุปสาหร่าย ในแอฟริกาใต้ หญิงชาวซูลูจะต้องรับประทาน Isihlambezo ซึ่งเป็นเครื่องดื่มสมุนไพรที่มีเดซี่และพืชที่มียางสีขาวเป็นส่วนประกอบ ในอิหร่าน น้ำทับทิมก็เป็นที่นิยม และเซเนกัลหญิงตั้งครรภ์มักจะรับประทานซุปกระดูก
ถั่วลิสงที่ถูกห้ามอย่างเด็ดขาด แต่บางจริงๆแล้ว บางทีมันอาจจะช่วยให้เด็กในท้องไม่แพ้ถั่วเมื่อโตมาก็เปนได้
แต่สิ่งสำคัญที่ขาดหายไปคือคำแนะนำว่าอะไรควร หรือไม่ควรบริโภค กันแน่?
วิทยาศาสตร์เป็นสิ่งที่จะช่วยไขความข้องใจเกี่ยวกับประเพณีความเชื่อที่แตกต่างกันของหลายๆ ประเทศ และบางที ความเข้าใจโดยพื้นฐานหรือ คอมมอนเซ้นส์ ก็ช่วยได้เช่นกัน สำหรับหญิงตั้งครรภ์ การรับประทานผักใบเขียวก็เป็นที่แนะนำอย่างแพร่หลายในระดับท้องถิ่นทุกที่ทั่วโลก แต่ดูเหมือนว่านี่จะเป็นความเชื่อที่ผูกกับเรื่องราวเหนือธรรมชาติแทนที่จะเกี่ยวกับเรื่องราวทางวิทยาศาสตร์หรือการแพทย์แทบทั้งสิ้น
หญิงตั้งครรภ์หลายๆ แห่ง มีความเชื่อที่แตกต่างกันเกี่ยวกับสิ่งที่พวกเธอบริโภค เช่น แม่ชาวไนจีเรียเชื่อว่าหากเธอรับประทานหอยทาก ลูกในท้องจะเกิดมาเป็นเด็กที่เกียจคร้าน แม่ชาวญี่ปุ่นเชื่อว่ารับประทานอาหารรสเผ็ดทำให้ลูกสมาธิสั้น และยังมีอีกมากที่นำไปสู่ความเข้าใจแบบผิดๆ
ในปี 2004 การศึกษาวิจัย ของ Dr Katri Raikkonen จาก the University of Helsinki ในระเทศฟินแลนด์ ได้ตีพิมพ์ผลการวิจัยว่า ค้นพบความสัมพันธ์ระหว่างการกินช็อคโกแลต และการกำเนิดลูกที่มีอารมณ์ดี แต่ท่ามกลางสื่อที่ให้ความสนใจ Dr Katri Raikkonen ก็ออกมาชี้แจงว่าไม่มีการตีพิมพ์เรื่องความสัมพันธ์ดังกล่าว “แต่อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้ทางชีววิทยา ว่าช็อคโกแลตอาจมีผลต่อสมองของทารกในครรภ์ และ อาจเกี่ยวข้องกับเรื่องของจิตวิทยาเช่นกัน” เธอกล่าว
นอกจากนี้ นิตยสาร รักลูก ก็ได้ให้คำแนะนำถึงการรับประทานอาหารเพื่อบำรุงสมองของลูกน้อยในครรภ์โดยเฉพาะช่วงก่อนตั้งครรภ์ถึงสามเดือนแรก แม่ต้องรับประทานอาหารที่มีกรดโฟลิก ซึ่งจำเป็นต่อการสร้างสมองและระบบประสาทส่วนกลาง อาหารที่อุดมไปด้วยกรดโฟลิกก็มีผักใบเขียว กล้วย ส้ม ธัญพืชต่างๆ ขนมปังโฮลวีต นม และโปรตีนจากเนื้อสัตว์ เป็นต้น นอกจากนี้ในปลาทะเลยังมีกรดไขมันที่สำคัญต่อการเสริมสร้างเซลล์ประสาท เช่น DHA และ AA อีกด้วย
การสร้างการเจริญเติบโตทางร่างกายก็เป็นเรื่องสำคัญเช่นเดียวกัน ดังนั้นหญิงตั้งครรภ์ควรบริโภค โปรตีน และแคลเซียม ซึ่งมีความสำคัญในการสร้างกล้ามเนื้อ กระดูก ฟัน เม็ดเลือดแดง และอวัยวะภายในต่างๆ โปรตีนมีมากในเนื้อสัตว์ นม ไข่ โดยเฉพาะปลา ซึ่งนับว่าเป็นโปรตีนคุณภาพสูง แคลเซียมมีมากในนม ไข่ ปลาไส้ตัน กุ้งฝอย ผักบางชนิด เช่น ผักกระเฉด ใบย่านาง ใบบัวบก ยอดฟักทอง เห็ดหูหนู สายบัว ใบตำลึง
หญิงตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยงอาหารสุกๆ ดิบๆ ซึ่งเป็นที่มาของเชื้อโรค อันนำไปสู่โรคต่างๆ ซึ่งมีความเสี่ยงต่ออาการป่วย และการแท้งบุตร เช่นเชื้อโรคที่ทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (listeriosis ) และแม้ว่าอาหารทะเลจะเป็นแหล่งที่มาของ โปรตีน และกระไขมันโอเมกา 3 ที่มีประโยชน์ต่อ ระบบประสาทและดวงตา แต่สัตว์ทะเลบางชนิดก็สะสมปรอท ซึ่งควรหลีกเลี่ยง เช่น ปลากระโทงดาบ (Swordfish), ปลาฉลาม, ปลาอินทรี, ปลาไทล์ (Tilefish) เป็นต้น
----------------------------------------------
ผู้เขียนบทความ
ผู้เขียน: อันดา
ผู้ช่วยวิจัย/นิสิตปริญญาเอก
สาขา Polymer Science
The Petroleum and Petrochemical College
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ที่มาข้อมูล
1.http://www.bbc.com/news/magazine-32033409
2.http://www.momypedia.com/momy-article-3-4-434/%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B9%
E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88%
E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87-%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%9A%
E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%87%
E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%A3%
E0%B8%A0%E0%B9%8C/
รูปภาพจาก
1.https://agereverser.com/5-power-foods-for-pregnant-women/
2.https://gotothefuger.wordpress.com/tag/%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%AD%
E0%B8%87/
บทความจากเว็บไชต์ วิชาการ
http://www.vcharkarn.com/varticle/502142
แก้ไขเมื่อ 18 พ.ค. 2558 21:09
แผ่นสังเคราะห์ที่จะช่วยลดความเจ็บปวดผู้ป่วยเบาหวานจากการฉีดอินซูลิน | 22 มี.ค. 2559 20:57 |
ทะเลสาบโบราณบนดาวอังคาร | 18 ก.ย. 2559 06:22 |
เมื่อความหวังดีของคนรักสัตว์ ทำร้ายสัตว์อย่างทารุณ | 26 พ.ค. 2559 20:08 |
วงแหวนไอน์สไตน์ | 09 เม.ย. 2558 00:56 |
ก่อนซื้อโทรศัพท์ GPS และ AGPS แตกต่างกันอย่างไร? | 29 มิ.ย. 2559 23:01 |
1
Zaproxy dolore alias impedit expedita quisquam.
2
Zaproxy dolore alias impedit expedita quisquam.
3
Zaproxy dolore alias impedit expedita quisquam.
4
Zaproxy dolore alias impedit expedita quisquam.
5
Zaproxy dolore alias impedit expedita quisquam.
6
Zaproxy dolore alias impedit expedita quisquam.
7
Zaproxy dolore alias impedit expedita quisquam.
8
Zaproxy dolore alias impedit expedita quisquam.
9
Zaproxy dolore alias impedit expedita quisquam.
10
Zaproxy dolore alias impedit expedita quisquam.