นักวิทยาศาสตร์เผยความสำเร็จในการบันทึกภาพ “หลุมดำยักษ์”


บทความทั้งหมดเขียนโดยคุณ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ Fan Page

gunhotnewsขอขอบคุณครับ


นักวิทยาศาสตร์เผยความสำเร็จในการบันทึกภาพ “หลุมดำยักษ์” #RealBlackHole

วันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2562 เวลา 20:00 น. หน่วยงานดาราศาสตร์แถลงผลงานวิจัยล่าสุดจากเครือข่ายกล้องโทรทรรศน์อีเวนต์ฮอไรซัน (Event Horizon Telescope : EHT) สามารถถ่ายภาพหลุมดำได้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ นับเป็นความสำเร็จทางวิทยาศาสตร์อันยิ่งใหญ่อีกครั้งหนึ่งของมวลมนุษยชาติ

“หลุมดำยักษ์ มวลมากกว่าดวงอาทิตย์ 6,500 ล้านเท่า”

งานวิจัยชิ้นนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลุมดำมวลยวดยิ่ง (Supermassive Black Hole) ที่อยู่บริเวณใจกลางกาแล็กซี M87 ซึ่งเป็นกาแล็กซีทรงรีมวลมหาศาล ห่างจากโลกประมาณ 55 ล้านปีแสง อยู่ในบริเวณกลุ่มดาวหญิงสาว

หลุมดำมวลยวดยิ่งแตกต่างจากหลุมดำทั่วไป คือ มวลของหลุมดำประเภทนี้จะอยู่ในระดับล้านเท่าของมวลดวงอาทิตย์ และจะพบได้เฉพาะในใจกลางกาแล็กซีเท่านั้น เป็นเสมือนหัวใจหลักของแต่ละกาแล็กซี กาแล็กซี M87 ก็มีหลุมดำยักษ์อยู่ที่ใจกลางกาแล็กซีเช่นกัน ที่ผ่านมานักวิทยาศาสตร์ทราบเพียงว่า หลุมดำนี้ปลดปล่อยลำอนุภาคพลังงานสูงออกมา แต่ยังไม่เคยมีใครสามารถถ่ายภาพหลุมดำนี้ได้โดยตรง

“เงาของหลุมดำยักษ์ท่ามกลางพลาสมาพลังงานสูง”

ภาพจากเครือข่ายกล้องโทรทรรศน์อีเวนต์ฮอไรซัน เผยให้เห็นสภาพแวดล้อมรอบ ๆ หลุมดำ มวลสารกำลังถูกดึงดูดเข้าสู่ใจกลาง เสียดสีกันจนมีพลังงานสูงและเปล่งแสงสว่างออกมา เกิดเป็นจานพลาสมาหมุนวนรอบหลุมดำ และที่ใจกลางจานพลาสมามีหลุมดำมวลยวดยิ่ง ทำให้แสงไม่สามารถเดินทางออกมาได้ เกิดเป็นบริเวณเงามืดใหญ่ขนาดประมาณ 40,000 ล้านกิโลเมตร

อย่างไรก็ตาม เงามืดที่เกิดขึ้นนี้ยังไม่ใช่บริเวณที่เรียกว่า “ขอบฟ้าเหตุการณ์ (event horizon)” กล่าวคือ ยังไม่ใช่ขนาดที่แท้จริงของหลุมดำ แต่เป็นผลที่เกิดจากความโน้มถ่วงมหาศาล บิดโค้งกาลอวกาศรอบ ๆ หลุมดำ ทำให้ขอบฟ้าเหตุการณ์บิดเบี้ยวไป เกิดเป็นเงามืดที่มีขนาดใหญ่กว่าขอบฟ้าเหตุการณ์ที่ควรจะเป็นถึง 2.5 เท่า

“คุณสามารถอ่านหนังสือพิมพ์ในนิวยอร์คได้จากร้านกาแฟในปารีส”

กล้องโทรทรรศน์อีเวนต์ฮอไรซัน (Event Horizon Telescope: EHT) เป็นเครือข่ายกล้องโทรทรรศน์วิทยุความถี่สูง ช่วง 230-450 GHz จากหอสังเกตการณ์ดาราศาสตร์วิทยุ 8 แห่งทั่วโลก ทำงานร่วมกัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรับสัญญานและกำลังแยกภาพ ใช้เทคนิคการแทรกสอดระยะไกล (Very Long Baseline Interferometer : VLBI) เมื่อสังเกตการณ์ร่วมกัน จะเสมือนว่ามีกล้องโทรทรรศน์วิทยุที่มีขนาดหน้าจานเท่ากับเส้นผ่านศูนย์กลางของโลก การใช้เทคนิคการแทรกสอดระยะไกล หรือวีแอลบีไอในครั้งนี้ สังเกตการณ์ ณ ช่วงความถี่ 230 GHz เทียบเท่าความยาวคลื่น 1.3 มิลลิเมตร ทำให้ได้ภาพที่มีความละเอียดเชิงมุมระดับ 20 ไมโครอาร์คเซค เปรียบเสมือนมีความละเอียดเพียงพอที่จะอ่านหนังสือพิมพ์ในนิวยอร์คได้จากร้านกาแฟในปารีส ที่ระยะห่างกว่า 6,000 กิโลเมตร

กล้องโทรทรรศน์วิทยุความถี่สูงของหอสังเกตการณ์ดาราศาสตร์วิทยุ 8 แห่ง ที่ร่วมเครือข่ายกล้องโทรทรรศน์อีเวนต์ฮอไรซัน ได้แก่ 1) Arizona Radio Observatory/Submillimeter-wave Astronomy - ARO/SMT) สหรัฐอเมริกา 2) Atacama Pathfinder EXperiment - APEX ชิลี 3) IRAM 30-meter telescope สเปน 4) James Clerk Maxwell Telescope – JCMT รัฐฮาวาย สหรัฐอเมริกา 5) The Large Millimeter Telescope Alfonso Serrano – LMT เม็กซิโก 6) The Submillimeter Array –MA รัฐฮาวาย สหรัฐอเมริกา 7) Atacama Large Millimeter/Submillimeter Array – ALMA ชิลี 8) South Pole Telescope –SPT ณ ขั้วโลกใต้ ทวีปแอนตาร์กติกา ข้อมูลมหาศาลทั้งหมดจากการสังเกตการณ์ครั้งนี้ ประมาณ 1 ล้าน กิกะไบต์ ถูกนำมาประมวลผลด้วยซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่สถาบันดาราศาสตร์วิทยุมักซ์พลังค์ เยอรมนี และ สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา


“ดาราศาสตร์ งานวิจัยที่ไร้พรมแดน”

ลำพังงบประมาณจากประเทศเดียว ไม่เพียงพอต่องานวิจัยชิ้นนี้ ความสำเร็จครั้งนี้เกิดจากความร่วมมือของนักวิจัยกว่า 200 ชีวิต จากหน่วยงานดาราศาสตร์ 13 แห่งทั่วโลก เพื่อหวังจะให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่สูงที่สุดในการวิจัยด้านดาราศาสตร์วิทยุ การแถลงข่าวในครั้งนี้นับเป็นหนึ่งในจุดสูงสุดของการร่วมมือดังกล่าว ไม่เพียงแต่เพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงจากทฤษฎีของไอน์สไตน์เท่านั้น แต่ยังเป็นการพัฒนาขีดความสามารถเทคโนโลยีระดับโลกให้ก้าวหน้าอยู่เสมอ

เรียบเรียง : ศูนย์บริการวิชาการและสื่อสารทางดาราศาสตร์ สดร.

อ้างอิง : https://eventhorizontelescope.org/…

คำอธิบายภาพ : ภาพนี้แสดงให้เห็นถึงวงแสงที่โค้งตามความโน้มถ่วงรอบหลุมดำซึ่งมีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์ 6.5 พันล้านเท่า เป็นหลักฐานชิ้นสำคัญที่แสดงถึงการมีอยู่ของหลุมดำมวลยวดยิ่ง และเปิดหน้าต่างบานใหม่ในการศึกษาหลุมดำ ขอบฟ้าเหตุการณ์ และความโน้มถ่วง

ที่มา : eventhorizontelescope.org


ผู้โพส: gunhotnews
วันที่: 11 เม.ย. 2562 00:58
จำนวนคนเข้าชมทั้งหมด:4111
หมวด: วิทยาศาสตร์

 

 

 

 

สุ่มกระทู้

 โมซาซอร์ มังกรจ้าวแห่งท้องทะเลยุคดึกดำบรรพ์  17 เม.ย. 2558 16:51

 เมอร์ส...โคโรนา อีกโรคสัตว์สู่คน  18 มิ.ย. 2558 13:56

 ยินดีต้อนรับเข้าสู่ gunhotnews.com  26 มี.ค. 2558 00:46

 ภาพการฝึกทำ Elephant Walk  11 พ.ค. 2559 21:19

 การเดินทางของยานสำรวจอวกาศจูโน  07 ก.ค. 2559 21:19


1

I would like to point out my respect for your generosity for people that require assistance with this important subject matter. Your real commitment to getting the message all around turned out to be unbelievably effective and have always enabled girls much like me to achieve their desired goals. Your personal helpful report can mean so much a person like me and much more to my mates. Regards; from all of us. supreme hoodie

ผู้โพส: supreme hoodie          วันที่:20 พ.ย. 2565 21:36          (บุคคลทั่วไป:117.26.240.xxx)

X
Loading........

2

I as well as my pals appeared to be checking out the best guides on the website and quickly I got a horrible feeling I never expressed respect to the web blog owner for those techniques. My people became glad to see them and already have clearly been using these things. We appreciate you genuinely very considerate as well as for choosing certain beneficial areas most people are really needing to be aware of. Our sincere regret for not expressing gratitude to sooner. kyrie shoes [url=http://www.kyrie-7.com]kyrie shoes[/url]

ผู้โพส: kyrie shoes          วันที่:03 พ.ย. 2565 07:42          (บุคคลทั่วไป:120.33.194.xxx)

X
Loading........
1

ไปหน้าที่
 


  แสดงความคิดเห็น
 
 
 
ชื่อ
กรุณากรอกข้อความตามภาพ    *ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ทุกตัวและมีอักษรภาษาไทยผสม 
อัพโหลดรูปที่นี่ และนำโค๊ด HTML Code มาใส่ในข้อความที่ต้องการ