ซูเปอร์โนวา ระเบิดล้างจักรวาล
บทความ โดยคุณ สมาชิกหมายเลข 1433773
จงไปสู่อวกาศ จงไปสู่จักรวาล จงบดขยี้ดวงดารา และจงไปปกครองท้องฟ้าเอง
นี่คืออินโทรสู่มหาพลังแห่งอวกาศ สู่ซูเปอร์โนวา
จงบดขยี้ศัตรูแห่งข้า ให้สิ้น...
วันนี้จะมาหาพลังฟอร์ซในอวกาศ กับโคตรระเบิดทำลายดาว ซูเปอร์โนวา มหาระเบิดวินาศสันตะโร
อาวุธที่แท้จริงแห่งอวกาศ ผู้ทำให้เดธสตาร์เป็นของเล่นเด็กไปเลย!
นี่คือแสงจากโนวาของดาวดวงเดียว ที่เทียบกาแล็คซี่ได้เลย
ซูเปอร์โนวา (อังกฤษ: supernova)
เป็นหนึ่งในเหตุการณ์ระเบิดที่มีพลังมากที่สุดที่รู้จัก
นั่นคือเป็นการระเบิดของดาวฤกษ์มวลมากเมื่อสิ้นอายุขัยแล้ว
จะเปล่งแสงสว่างมหาศาลและระเบิดออกรัศมีสว่างวาบเป็นรัศมีเพียงชั่วครู่
ก่อนจะเลือนจางลงในเวลาสัปดาห์หรือเดือนเท่านั้น
ซากของการระเบิดในเนบิวล่าปู
ระหว่างช่วงเวลาสั้นๆ ที่เกิดซูเปอร์โนวานี้ มันจะปลดปล่อยพลังงานมหาศาลขนาดเท่ากับพลังงานของดวงอาทิตย์ดวงหนึ่งสามารถ ปลดปล่อยได้ทั้งชีวิตทีเดียว การระเบิดจะขับไล่ดวงดาวและวัตถุต่างๆ ที่อยู่ใกล้ให้กระเด็นออกไปไกลด้วยความเร็ว 10% ของความเร็วแสง(30,000 กิโลเมตร/วินาที) และเกิดคลื่นกระแทกแผ่ออกไปโดยรอบตรงช่องว่างระหว่างดวงดาว การกระแทกนี้ได้กวาดเหล่าแก๊สและฝุ่นละอองออกไปอย่างรวดเร็ว เรียกปรากฏการณ์นี้ว่าการเกิดซากมหานวดารา
แต่ละประเภทของมหานวดารา ที่ยังปรากฏให้เห็นอยู่ แบ่งได้เป็น 2 ประเภท ซึ่งเกิดพลังงานที่เกิดจากนิวเคลียร์ฟิวชัน หลังจากแกนกลางของดาวมีอายุมวลมากเข้าสู่ความตาย และเริ่มสร้างพลังงานจากนิวเคลียร์ฟิวชัน อยู่ภายใต้แรงโน้มถ่วงที่จะนำไปสู่การยุบตัวของดวงดาว จนอาจกลายเป็นดาวนิวตรอนหรือไม่ก็หลุมดำ การปลดปล่อยพลังงานศักย์โน้มถ่วง ทำให้เกิดทั้งความร้อนและสาดผิวชั้นนอกของดวงดาวให้กระเด็นออกไป ในทางกลับกัน ดาวแคระขาวอาจสะสมเพิ่มพูนสสารจนเพียงพอจากดาวข้างเคียงกัน หรือที่เรียกว่าระบบดาวคู่ (binary star system) เป็นการเพิ่มอุณหภูมิแกนกลางจนกระทั่งเกิดฟิวชันถึงระดับของธาตุคาร์บอน แกนกลางของดาวฤกษ์ที่ร้อนระอุซึ่งอยู่ในสภาวะยุบตัวเนื่องจากมีมวลเกินค่า ขีดจำกัดของจันทรเศกขาร (Chandrasekhar limit) ซึ่งมีค่าประมาณ 1.38 เท่าของดวงอาทิตย์ เกิดเป็นซูเปอร์โนวาประเภท T1 (Type I Supernovae) แต่ว่าดาวแคระขาวจะแตกต่างตรงที่มีการระเบิดที่เล็กกว่าโดยใช้เชื้อเพลิงจาก ไฮโดรเจนที่ผิวของมัน เรียกว่า โนวาดาวที่มีมวลน้อย (ประมาณไม่ถึงเก้าเท่าของดวงอาทิตย์) เช่นดวงอาทิตย์ของเรา จะวิวัฒน์ไปเป็นดาวแคระขาวโดยปราศจากการเกิดซูเปอร์โนวา..นั่นน่าเสียดายมาก
ประเภทของซูเปอร์โนวาที่เราคุ้นเคยที่สุดก็คือ ซูเปอร์โนวาประเภท T2 (Type II Supernovae) เกิดจากการสิ้นสุดวงจรชีวิตของดาวฤกษ์ เป็นการดับของดาวฤกษ์ที่มีขนาดยักษ์กว่าดวงอาทิตย์ของเรา โดยการระเบิดจะเกิดขึ้นอย่างรุนแรงและรวดเร็ว เมื่อเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ในแกนกลางของดาวฤกษ์หมดลง แรงดันที่เกิดจากอิเล็กตรอนผลักกันก็จะหายไป ดาวฤกษ์จะยุบตัวลงเนื่องจากแรงโน้มถ่วงอะตอมธาตุในแกนกลางดาวฤกษ์บีบอัดตัว จนชนะแรงผลักจากประจุ อะตอมจึงแตกออกเหลือแต่นิวตรอนอัดตัวกันแน่นแทน เปลือกดาวชั้นนอกๆ ที่บีบอัดตามเข้ามาจะกระแทกกับแรงดันจากนิวตรอน จนกระดอนกลับและระเบิดกลายเป็นมหานวดารา วัสดุสารจากการระเบิดมหานวดาราจะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วเกือบเท่าความเร็ว แสง ที่ใจกลางของมหานวดาราจะมีก้อนนิวตรอนซึ่งจะเรียกว่า ดาวนิวตรอน (neutron star)
โดยเฉลี่ยแล้ว ซูเปอร์โนวาจะเกิดประมาณห้าสิบปีครั้งหนึ่งในดาราจักรที่มีขนาดเท่าๆ กับทางช้างเผือกของเรา มีบทบาทสำคัญกับการเพิ่มมวลให้กับมวลสารระหว่างดวงดาว นอกจากนั้น การแผ่กระจายของคลื่นกระแทกจากการระเบิดของมหานวดาราสามารถก่อให้เกิดดาวดวง ใหม่ได้มากมาย
คำว่า “โนวา” มาจากภาษาลาติน แปลว่าใหม่ หมายถึงการเกิดใหม่ของดาวดวงใหม่ส่องแสงสว่างในท้องฟ้า ส่วนคำว่า “ซูเปอร์” จำแนกมหานวดาราออกจาก โนวา ธรรมดา ต่างกันที่ความสว่างที่สว่างกว่า ขนาดและทางกลที่ต่างกันด้วย คำว่ามหานวดาราใช้ครั้งแรกในหนังสือ Merriam Webster s Collegiate Dictionary ตีพิมพ์เมื่อปี 1926
หลังจากการเผาใหม้ตัวเองอย่างรวดเร็วของดาวฤกษ์มหายักษ์ มันจะเกิดกระบวนการนิวเคลียร์ฟิวชั่นเป็นชั้นๆ อย่างรวดเร็ว
ทุกครั้งที่ทำการนิวเคลียร์ฟิวชั่น มันจะกลายเป็นธาตุที่ซับซ้อนขึ้น ไฮโดรเจนสู่ฮีเลียม ฮีเลียมสู่คาร์บอน คาร์บอนสู่นีออน นีออนสู่ออกซิเจน
ออกซิเจนสู่ซิลิกอน ซิลิกอนสู่เหล็ก เมื่อเป็นเหล็กก็ไม่ต้องแปลงสภาพอีกต่อไป แต่มันจะสะสมพลังงาน เตรียมการทำลายล้าง....
ฟิวชันในระยะท้ายๆ
ของดาวฤกษ์มวลมากเป็นการเกิดปฏิกิริยาฟิวชันที่มีความซับซ้อนมาก
เมื่อธาตุใดที่แกนกลางหมดลง
ดาวก็จะยุบตัวจนกว่าจะมีอุณหภูมิสูงมากพอที่จะจุดฟิวชันของธาตุหนักกว่า
ลำดับต่อไปได้ ชั้นเปลือกของฟิวชันของธาตุต่างๆ
จึงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนดาวมีชั้นฟิวชันหลายสิบชั้นซ้อนกันดูคล้ายหัว
หอม ในขณะที่อุณหภูมิที่แกนกลางของดาวเพิ่มขึ้นถึงระดับหลายพันเคลวิน
ธาตุที่หนักขึ้นเรื่อยๆ ก็กำเนิดขึ้นในแกนกลาง จากคาร์บอน (6 โปรตอน)
ออกซิเจน (6 โปรตอน) นีออน (10 โปรตอน).... เรื่อยไป
ดาวจะใช้เวลาเผาผลาญธาตุนั้นและเริ่มชั้นใหม่น้อยลงอย่างมาก ในชั้นท้ายๆ
ดาวจะใช้เวลาเผาผลาญเชื้อเพลิงหมดไปภายในไม่กี่วันเท่านั้น
ซึ่งนับว่าสั้นมากเมื่อเทียบกับอายุหลายล้านปีของดาว
แล้วในที่สุดธาตุก็รวมกันจนเกิดเป็นขี้เถ้าธาตุเหล็กในแกนกลาง
ซึ่งเป็นธาตุที่ไม่สามารถจุดฟิวชันเป็นธาตุที่หนักกว่าได้
ชั้นเปลือกที่อยู่เหนือแกนเหล็กขึ้นไปต่างปล่อยขี้เถ้าเหล็กลงมาทับถมที่
แกนกลาง ทำให้น้ำหนักของแกนกลางเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
แกนเหล็กถูกบีบอัดที่ความดันสูงอย่างยิ่งยวดและความดันนี้ยังคงเพิ่มขึ้น
อย่างต่อเนื่อง
ในเวลานี้แกนยังคงรูปอยู่ได้เพราะแรงดันดีเจนเนอเรซีของอิเล็กตรอน
แต่เมื่อความกดดันเพิ่มขึ้นจนถึงจุดวิกฤติ
อิเล็กตรอนในแกนเหล็กจะไม่อาจทนได้อีกต่อไป
จึงถูกอัดรวมเข้ากับโปรตอนเกิดเป็นนิวตรอน (Neutron) และอนุภาคนิวตริโน
(Neutrino) การรวมตัวนี้ทำให้จำนวนอิเล็กตรอนในแกนกลางลดหายไปเกือบทั้งหมด
ความดันดีเจนเนอเรซีของอิเล็กตรอนที่ประคับประคองแกนเหล็กไว้จึงหมดไปด้วย
เมื่อไม่มีความดันดีเจนเนอเรซีคงรูปแกนไว้
แรงโน้มถ่วงจะอัดแกนกลางของดาวลงเป็นดาวนิวตรอนในชั่วพริบตา
และในเสี้ยววินาทีน้นเอง
พลังงานที่ถูกปลอปล่อยจากการยุบตัวของแกนที่หนาแน่นอย่างที่สุดจะระเบิดออก
มาในทุกทิศทาง เปล่งแสงสว่างและพลังงานมากกว่าพี่ดาวได้ผลิตมาตลอดชั่วชีวิต
ความร้อนและความดันอันมหาศาลจากการระเบิดทำให้เกิดธาตุหนัก เช่น ปรอท เงิน
หรือ ทองคำขึ้นได้ การระเบิดนี้เรียกว่า มหานวดารา
จะฉีกดาวทั้งดวงออกเป็นธุลีและสาดเศษส่วนของดาวออกไปในห้วงอวกาศด้วยความ
เร็วกว่า 10,000 กิโลเมตร/วินาที(บางโนวาอาจเร็วกว่า 30,000
กิโลเมตรต่อวินาที แต่ยังไม่เร็วเท่ารังสีแกมม่าที่ดวลสปีดกับแสงได้)
มหานวดาราจะทำลายดาวลงโดยสิ้นเชิง เหลือเพียงแต่ซากแกนกลางของดาว คือ
ดาวนิวตรอน
ซึ่งเป็นดาวที่มีความหนาแน่นสูงมากเพราะเต็มไปด้วยนิวตรอนอัดแน่น
ดาวนิวตรอนมักมีขนาดประมาณ 20 – 30 กิโลเมตรเท่านั้น
แต่ถึงกระนั้นก้มีมวลเทียบได้กับดวงอาทิตย์ของเรา นอกจากดาวนิวตรอนแล้ว
รอบๆ มหานวดาราก็จะเต็มไปด้วยเศษซากของดาว เรียกว่า ซากมหานวดารา
(Supernova Remnant) แล้วก็เป็นต้นกำเนิดของเนบิวลาด้วยเช่นกัน
การเกิดมหานวดาราไม่ได้ให้ผลแค่กลายเป็นดาวนิวตรอนสถานเดียวเท่านั้น ณ
จุดสิ้นอายุขัยของดาวมวลมากจะระเบิดมวลส่วนใหญ่ของดาวออกไป
แต่ถ้ามวลส่วนหนึ่งตกกลับมายังดาวนิวตรอนที่ยังเหลืออยู่ตรงกลาง
ในกรณีของดาวฤกษ์ที่มีมวลเริ่มต้นมากกว่า 18
เท่าของมวลดวงอาทิตย์ เศษซากดาวที่ตกกลับลงมายังดาวนิวตรอนจะมีมวลมากพอที่
จะทำให้ดาวนิวตรอนมีมวลเพิ่มขึ้นเกินกว่า 3 เท่าของมวลดวงอาทิตย์ได้
ซึ่งเกินกว่าลิมิตดาวนิวตรอน
ความดันดีเจนเนอเรซีของนิวตรอนจึงไม่อาจต้านทานแรงโน้มถ่วงที่สูงขึ้น
เรื่อยๆ ได้อีกต่อไป ดาวนิวตรอนจะถูกยุบตัวลงอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
เพราะไม่มีแรงใดๆ ในจักรวาลที่จะต้านทานการยุบตัวได้
ชัยชนะเด็ดขาดจึงเป็นของแรงโน้มถ่วง คือดาวนิวตรอนจะยุบตัวลงเป็นหลุมดำ
(Black Hole) ซึ่งเป็นวัตถุที่มีขนาดเป็นศูนย์มวลเป็นอนันต์
นอกจากนี้ยังมีอีกทางหนึ่งที่ดาวฤกษ์สามารถกลายเป็นหลุมดำได้คือ
แกนเหล็กของดาวมวลมากที่สิ้นอายุขัยสามารถยุบตัวลงผ่านลิมิตดาวนิวตรอนกลาย
เป็นหลุมดำได้โดยตรง ในกรณีนี้ จะไม่เกิดปรากฏการณ์ซูเปอร์โนวาอีกเลย
(เกิดขึ้นในดาวที่มีมวลเริ่มต้นหลายสิบเท่าของมวลดวงอาทิตย์)
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของโลหะในตัวดาวด้วย
เพราะมีกรณีของดาวฤกษ์มวลมากบางดวง ที่มีความเป็นโลหะสูง แม้จะมีมวลมากถึง
40 เท่าของดวงอาทิตย์ขึ้นไป กลับทิ้งซากให้ในฐานะดาวนิวตรอน ไม่ใช่หลุมดำ
ซึ่งเป็นสิ่งที่แปลกประหลาดลำดับต้นๆ ของปรากฏการ์ณนี้
กลุ่มเนบิวล่า รอบๆ ดาวหมาป่า (Wolf-Rayet starWR124)
ที่ตั้งอยู่ในระยะห่างออกไป 21,000 ปีแสง
มีดาวขนาดใหญ่มากมายในทางช้างเผือกที่สามารถเปลี่ยนเป็นมหานวดาราได้ภายใน
หนึ่งพันถึงหนึ่งร้อยล้านปีข้างหน้า รวมทั้ง Rho Cassiopeiae, Etha
Carinae(ดวงนี้ก็น่าสนใจ) และ RS Ophiuchi, the Kitt Peak Downes star
KPD1930+2752, HD 179821, IRC+10420, VY Canis Majoris,
Betelgeuse(ดวงนี้ใกล้โลก้) Antares and Spica กลุ่มดาวหมาป่าหลายดวง เช่น
Gamma Velorma , WR 104, และกลุ่ม Quintuplet
ซึ่งสามารถทำนายได้ว่าจะเกิดมหานวดาราได้ในอนาคตข้างหน้า
ดาวที่มีโอกาสเป็นซูเปอร์ได้ในเร็วๆนี้ คือ IK Pegasi (HR 8210)
ตั้งอยู่ห่างไป 150 ปีแสง ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มดาวเรียงกันและดาวแคระขาว
ห่างกันแค่ 31 ล้านกิโลเมตร โดยมีมวลเป็น 1.15 เท่าของดวงอาทิตย์
และต้องใช้เวลาหลายล้านปีก่อนที่จะกลายเป็นมหานวดาราประเภทที่ 1 ได้
ถ้าซูเปอร์โนวาเกิดในระยะ 26 ปีแสงจากโลก
พลังงานของมันจะแผดเผาชั้นบรรยากาศของโลกจนไหม้เป็นจุณวิจุณไป
และเปลื่ยนสมดุลไนโตรเจนบนโลกทั้งใบด้วยสุดยอดคลื่นรังสีแกมม่าที่น่ากลัว!
นอกจากนั้นมันยังเกี่ยวข้องกับปรากฏการไฮเปอร์โนวา และแกมม่าเรย์เบิรส์ด้วย
ขอบคุณข้อมูลจาก(กรุณาดูในกระทู้เนืองจากเนื้อที่ไม่พอ)
https://youtu.be/hFV3Dn_eE3I
บทความโดยคุณ สมาชิกหมายเลข 1433773
จากกระทู้ http://pantip.com/topic/33352080
ซูเปอร์โนวา ระเบิดล้างจักรวาล ภาค2
แก้ไขเมื่อ 26 มี.ค. 2558 14:35
กล้องโทรทรรศน์ฮับเบิลพบกลดดาราจักร (Halo) รอบๆดาราจักรแอนดรอมิดา | 25 พ.ค. 2558 23:17 |
How Alpha Go Work (วิธีการทำงาน) | 13 มี.ค. 2559 22:15 |
เผยภาพลับ สหรัฐฯเคยประจำการขีปนาวุธนิวเคลียร์ที่ญี่ปุ่น | 23 ก.พ. 2559 20:04 |
นอร์เวย์ใช้เครื่อง F-16 ขนส่งอุปกรณ์ทางการแพทย์ | 25 เม.ย. 2559 23:40 |
หยดน้ำสามารถทำให้ใบไม้ไหม้ได้หรือไม่ | 22 ก.ค. 2559 21:00 |
1
ทดสอบการป้องกันสแปม
2
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2
http://en.wikipedia.org/wiki/Near-Earth_supernova
http://en.wikipedia.org/wiki/Supernova