&&--ทะเลแห่งความตาย ในยุคดึกดำบรรพ์--&&
บทความโดยคุณ iamnid
http://topicstock.pantip.com/wahkor/topicstock/2009/07/X8082680/X8082680.html
ในห้วงแห่งท้องทะเล ใต้มหาสมุทร ปัจจุบัน ก็เห็นจะมีพวกฉลามที่ดูน่ากลัว
และก็วาฬ สัตว์น้ำทะเลที่ใหญ่ที่สุด
ถ้าเรามองย้อนไปสมัยดึกดำบรรพ์ ทะเลจะน่ากลัวมากกว่านี้
น่ากลัวอย่างไร
ตามไปดูบทความนี้กันค่ะ
*******************************
ใน
ยุคปัจจุบันการดำน้ำในทะเลเปิดบางแห่งอาจนำมาซึ่งความตายเพราะถูกฉลาม
เพชฌฆาตแห่งท้องทะเลกัดกิน
แต่ในยุคดึกดำบรรพ์ไม่ว่าจะอยู่ส่วนใดของทะเลล้วนแล้วแต่อันตรายทั้งสิ้น
เพราะมีสัตว์ทะเลนักล่าที่ดุร้ายอยู่ทั่วไป
นักวิทยาศาสตร์ได้จัดอันดับทะเลแห่งความตายในยุคต่าง ๆ ไว้ 7 อันดับ มาดูกันว่ามียุคใดบ้าง
ในภาพ
1. โมซาซอร์ 2. ลีโอพลูโรดอน 3. เมกาโลดอน 4. บาซิโลซอรัส 5. ดังก์ลีโอสตีอัส 6. ซิมโบสปอนไดลัส 7. ออร์โธโคน
ที่มา
http://tmwrestling.ipbfree.com/lofiversion/topic5312/
เริ่มกันที่
อันดับ 7 ยุคออร์โดวิเชียน (Ordovician Period)
ยุค
ออร์โดวิเชียน (490 - 443 ล้านปีก่อน) ยุคนี้ 1 วันของโลกเท่ากับ 21
ชั่วโมง ผืนแผ่นดินยังอยู่ในสภาพแห้งแล้ง มีพืชเพียงจำนวนเล็กน้อยเท่านั้น
และไม่มีสัตว์บกอยู่เลย ทว่าในท้องทะเลกลับเต็มไปด้วยสัตว์ทะเลนานาชนิด
แมลงป่องทะเลได้ชื่อว่าเป็นนักล่าในยุคนั้น
แต่พวกมันก็ยังตกเป็นเหยื่อของออร์โธโคน
ซึ่งเป็นเจ้าแห่งความตายในท้องทะเลในยุคนี้อย่างแท้จ ริง
ออร์โธโคน
มีขนาดมหึมารูปร่างคล้ายปลาหมึก
ทว่าลำตัวแหลมเหมือนกรวยและมีเปลือกแข็งเหมือนเปลือก หอย
มันจะใช้หนวดจับแมลงป่องทะเลและบดเคี้ยวเหยื่อด้วยจง อยปากที่ทรงพลัง
อันดับ 6 ยุคไทรแอสสิค (Triassic Period)
ยุค
ไทรแอสสิค (248 - 206 ล้านปีก่อน)
เป็นยุคที่ไดโนเสาร์บนผืนแผ่นดินกำลังวิวัฒนาการอยู่
แต่ไดโนเสาร์ในยุคนี้ยังมีขนาดเล็กเมื่อเปรียบเทียบก
ับไดโนเสาร์ในยุคจูราสสิค และเช่นเดียวกับยุคออร์โดวิเชียน
ท้องทะเลในยุคไทรแอสสิกเต็มไปด้วยสัตว์ทะเลและนักล่า
นักล่าที่รู้จักกันดีคือ สัตว์เลื้อยคลานอย่างเช่น กิ้งก่า นอโธซอร์
แต่นักล่าที่ร้ายที่สุดในยุคนี้ก็คือ ซิมโบสปอนไดลัส สัตว์ทะเลลำตัวยาว 10
เมตร รูปร่างคล้ายปลาโลมา แต่ไม่มีกระโดงและหางยาว
ปลายหางคล้ายหางของปลาไหลทะเล
หัวของซิมโบสปอนไดลัส ยาวถึง 1 เมตร
ฟันของมันแหลมคมจนสามารถฉีกเนื้อกิ้งก่าทะเลขนาดใหญ่ ได้เป็นชิ้นๆ
แต่อาหารที่มันชื่นชอบไม่ใช่กิ้งก่าทะเลแต่กลับเป็นป ลา
อันดับ 5 ยุคดิโวเนียน (Devonian Period)
ยุค
ดิโวเนียน (417 - 354ล้านปีก่อน) หรืออีกชื่อหนึ่งว่ายุคแห่งปลา (Age of
Fish) เป็นยุคที่ผืนแผ่นดินมีต้นไม้ปกคลุมบ้างแล้ว
บรรพบุรุษของสัตว์เลื้อยคลานได้เริ่มวิวัฒนาการในปลา ยยุคนี้
นักล่าในท้องทะเลในยุคนี้คือฉลามชนิดต่างๆ อาทิเช่น สเตธาแคนทัส
ฉลามซึ่งมีกระโดงคล้ายทั่งตีเหล็ก แต่ฉลามเจ้าแห่งมหาสมุทรคือ
ดังก์ลีโอสตีอัส ซึ่งมีรูปร่างหน้าตาน่าเกลียด
ดังก์ลีโอสตีอัสมีฟัน
แหลมคมและมีเกราะหุ้มลำตัว มันจะสวาปามสัตว์ทะเลไม่เลือกหน้า
ไม่ว่าจะเป็นปลาธรรมดาหรือปลาฉลาม หรือแม้กระทั่งพวกเดียวกันเองด้วย
อันดับ 4 ยุคพาลีโอจีน (Paleogene Period)
ทะเล
แห่งความตายในยุคพาลีโอจีน (65 - 23 ล้านปีก่อน) อยู่ใน จุลยุค อีโอซีน
(Eocene Epoch) ซึ่งเป็นจุลยุคที่สองของยุคพาลีโอจีน
นักล่าเจ้าแห่งความตายคือ วาฬบาซิโลซอรัส
วาฬดึกดำบรรพ์ซึ่งมีชีวิตอยู่ในระหว่าง35-40 ล้านปีก่อน
อสูรร้ายใต้สมุทรตัวนี้มีลำตัวยาวถึง 40-70 ฟุต
แต่รูปร่างหน้าตาของมันไม่เหมือนวาฬในปัจจุบันเลย
แต่คล้ายงูทะเลยักษ์มากกว่า
หัวของบาซิโลซอรัสยาวประมาณ 5 ฟุต
ขากรรไกรมีฟันสองชุด ฟันแถวหน้ามีรูปทรงคล้ายกรวยใช้สำหรับจับเหยื่อ
ส่วนฟันแถวหลังมีรูปทรงสามเหลี่ยมใช้สำหรับเคี้ยว
ลักษณะของฟันบ่งชี้ว่ามันเป็นสัตว์ทะเลที่กินปลาและป ลาหมึกเป็นอาหาร
อันดับ 3 ยุคนีโอจีน (Neogene Period)
ทะเลแห่งความตายในยุคนีโอจีน (23-1.81 ล้านปีก่อน) อยู่ในจุลยุคไพลโอซีน (Pliocene epoch) จุลยุคที่สองของยุคนีโอจีน
ใน
จุลยุคไพลโอซีน บริเวณชายฝั่งของประเทศเปรูเป็นดินแดนที่แห้งแล้ง
แต่ปลอดภัย แมวน้ำนอนผึ่งแดดอยู่ตามโขดหิน
ทว่าห่างออกไปในทะเลกลับอันตรายสุดสุด
เพราะมีนักล่าที่ดุร้ายซึ่งเป็นญาติของฉลามขาวในปัจจ ุบัน มันคือ เมกาโลดอน
ฉลามยักษ์ขนาดใหญ่กว่าฉลามขาวราว 2เท่า
เมกาโลดอนมีขากรรไกรขนาด
ใหญ่กว่า 2 เมตร ฟันแต่ละซี่แหลมคมยาว 21 เซนติเมตร
พวกมันอาศัยอยู่ในทะเลเปิด ยกเว้นตัวที่มีอายุน้อยจะอาศัยอยู่บริเวณชายฝั่ง
เมกาโลดอนว่ายน้ำได้รวดเร็วและจะล่าเหยื่อบริเวณก้นท ะเล
อาหารที่มันชื่นชอบคือ วาฬและแมวน้ำ รวมทั้งโอโดบีโนเซทอป
สัตว์ทะเลที่มีรูปร่างผสมระหว่างวอลลัซกับปลาพะยูนด้ วย
เมกาโลดอน หรือ The Great White Shark
มัน
เป็นบรรพบุรุษของฉลามในยุคโบราณครับโดยมันปกครองท้องทะเลมาเมื่อประมาณกว่า
25 ล้านปี (ยุคไมโอซีน) ล่วงมาแล้ว เป็นจ้าวแห่งมหาสมุทรขนาดยักษ์ใหญ่
บางคนถึงกับขนานนามมันว่าเป็น Gigantic Shark อีกตะหาก
เหตุจากขนาดที่ไม่ธรรมดาและความยาวลำตัวจากหัวถึงหางประมาณ 50-100 ฟุต
หรือประมาณ 16-31 เมตร เป็นไงครับขนาดของมัน
มันเป็นบรรพบุรุษของ
ฉลามในยุคโบราณครับโดยมันปกครองท้องทะเลมาเมื่อประมาณกว่า 25 ล้านปี
(ยุคไมโอซีน) ล่วงมาแล้ว เป็นจ้าวแห่งมหาสมุทรขนาดยักษ์ใหญ่
บางคนถึงกับขนานนามมันว่าเป็น Gigantic Shark อีกตะหาก
เหตุจากขนาดที่ไม่ธรรมดาและความยาวลำตัวจากหัวถึงหางประมาณ 50-100 ฟุต
หรือประมาณ 16-31 เมตร เป็นไงครับขนาดของมัน
ภาพเปรียบเทียบขนาดเจ้ายักษ์เมกาโลดอน ฉลามขาว ฉลามบาสกิ้งและมนุษย์คับ คนละไซต์กันเลย
แต่
ดูจากยุคที่มันอยู่แล้วเนี่ยคาดว่าปัจจุบันนี้มันน่าจะสูญพันธุ์ไปหมดแล้วซิ
นะครับ แต่ก็ไม่แน่นา เพราะมีรายงานการพบเห็นฉลามขาวยักษ์ในปี ค.ศ. 1918
โดยชาวประมงที่พบเห็นฉลามตัวนี้เข้า
เรื่องพิศวงที่ตามมาก็คือจากคำบอกเล่าของชาวประมงที่บังเอิญเห็นมันเข้านั้น
กล่าวว่ามันมีความยาวประมาณ 115 ฟุต จากหัวถึงหาง หุ หุ
ใหญ่กว่าขนาดที่เคยประมาณกันไว้เสียอีก และแน่นอนครับ
ไม่เหมือนฉลามตัวไหนหรือพันธุ์ไหนที่เคยเห็นมาก่อนเลย น่าสนใจใช่มั๊ยละครับ
นัก
สมุทรศาสตร์ยังเคยมีการประมาณเอาไว้ด้วยนะครับว่าในปัจจุบันยังมีสัตว์ใน
ท้องทะเลที่เรายังไม่รู้จักอีกอย่างน้อยกว่า 50,000 สายพันธุ์
แน่นอนครับว่ารวมเอาชนิดของปลาฉลามเข้าไปด้วย อย่างเช่นฉลามบาสกิ้ง
(Basking Shark) หรือฉลามเมกาเมาทธ์ (MegaMouth Shark)
ก็ยังเพิ่งมามีการค้นพบเอาในช่วงหลังๆ ของศตวรรษนี้เลยใช่มั๊ยครับ
การ
ที่เมกาโลดอนจะรอดมาได้ 25 ล้านปีก่อนก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร (หรือแปลกหว่า
?) จากท้องทะเลที่โอบอุ้มชีวิตในทะเลทั้งมวล ท้องทะเลที่ไม่เคยแห้งเหือด
ท้องทะเลที่เป็นสวรรค์สำหรับชีวิตทางทะเล ก็น่าจะพอเป็นไปได้น่ะ
เอ้า!
มาต่อกันต่อเลยดีกว่าครับ
นักวิทยาศาสตร์และนักสมุทรศาสตร์เค้าว่ากันว่าในตอนนี้น่ะ
ก็ยังมีเจ้าเมกาโลดอนอาศัยอยู่ร่วมโลกกับเราด้วย
ไม่ได้สูญพันธุ์หรือหายไปไหนหรอกครับ แต่ว่ามันอยู่ในทะเลที่ลึกเอามากๆ
เลยน่ะซี
และมันอาจจะกินปลาหมึกยักษ์เป็นอาหารแบบเดียวกันกับปลาวาฬสเปิร์มก็เป็นได้
หรือไม่ก็ปลาวาฬสเปิร์มเองนั่นแหละที่อาจจะเป็นอาหารของมันเอา อิอิ
ทั้ง
นี้ทั้งนั้นก็เลยมีการตั้งโปรเจ็คทีมขึ้นมาเพื่อการค้นหาและทำวิจัยเพื่อให้
ได้มาซึ่งหลักฐานการมีอยู่ของมัน
แต่ก็ยังไม่ได้หลักฐานที่เป็นชิ้นเป็นอันอะไรมากมายนักหรอกครับ
จะมีก็แต่ซากฟอสซิลที่ขุดพบกันเท่านั้น
ที่มา
pirun.ku.ac.th/~b4944070/Megalodon.htm
ที่ มา ของ ข้อมูล จาก http://www.mythland.org/
อันดับ 2 ยุคจูราสสิค (Jurassic Period)
ท้อง
ทะเลในยุคจูราสสิค (200-146 ล้านปีก่อน) มีฉลามนักล่าหลายชนิด อย่างเช่น
ฉลามไฮโบดัส นอกจากนั้นยังมีจระเข้ทะเลเมทริโอรินซัสด้วย
แต่นักล่าทั้งสองชนิดก็ยังเทียบไม่ได้กับ ลีโอพลูโรดอน
นักล่าขนาดใหญ่ที่สุดในมหาสมุทรเท่าที่โลกเคยมีมาซึ่ งมีชีวิตอยู่ในกลางยุคจูราสสิค ประมาณ 160-155 ล้านปีก่อน
ลี
โอพลูโรดอนเป็นสัตว์ทะเลในตระกูลสัตว์เลื้อยคลานที ่เรียกกันว่า ไพลโอซอร์
ลำตัวของมันยาวถึง 25 เมตร
จุดเด่นของมันคือจมูกที่สามารถดมกลิ่นเหยื่อได้ในระย ะไกล
เหยื่อของมันคือจระเข้ทะเล ปลาขนาดใหญ่ และรวมทั้งไพลโอซอร์ด้วย
อันดับ 1 ยุคครีเตรเชียส (Creataceous Period)
สุด
ยอดแห่งทะเลแห่งความตายคือทะเลในยุคครีเตรเชียสหร ือยุคไดโนเสาร์ (146-65
ล้านปีก่อน) เพราะเต็มไปด้วยกิ้งก่าทะเล "โมซาซอร์"
หลายชนิดซึ่งล้วนแล้วแต่ดุร้ายจนได้รับฉายาว่า "ที-เร็กแห่งมหาสมุทร"
แม้แต่นกเฮสเพอร์โรนิสก็ยังไม่พ้นจากความตายจากฝีมือ ของฮาลิซอรัส โมซาซอร์ขนาดเล็ก
โม
ซาซอส์ขนาดใหญ่ที่สุดในยุคนี้คือ ไฮโนซอรัส มีลำตัวยาวถึง 17 เมตร
นอกจากนั้นยังมีอีลาสโมซอรัส สัตว์ทะเลในตระกูลเพลซิโอซอร์ซึ่งมีลำตัวยาว
15 เมตร เป็นนักล่าปลาตัวฉกาจในยุคนี้ด้วย
ยุคครีเตรเชียสจึงเป็นยุคของนักล่าที่มีทั้ง ที-เร็ก บนบกและที-เร็กในมหาสมุทร ซึ่งก็คือกิ้งก่าบกที่อพยพลงไปอยู่ในทะเลนั่นเอง
และยุคปัจจุบัน สัตว์นักล่าแห่งท้องทะเล
ฉลามขาว
ฉลาม
ขาวสุดยอดปลานักล่า มีอายุยืนถึง 100 ปี มีฟัน 3000 ซี่
ความน่ากลัวของฉลามขาวมีอยู่ในความคิดของมนุษย์
มานับตั้งแต่มนุษย์รู้จักท้องทะเลก็ว่าได้ ในสมัยดึกดำบรรพ์
ชาวเกาะหลายเผ่า นับถือปลาฉลามในฐานะตัวแทนเทพเจ้าแห่งท้องทะเล
ในหมู่เกาะฮาวาย เจ้าผู้ครองเกาะในสมัยโบราณนิยม
ให้นักรบของตนทดสอบความกล้าหาญ โดยการต่อสู้กับปลาฉลาม คล้ายๆ
กับที่จักรพรรดิโรมันนิยมให้ทาสมาต่อสู้กับสิงโตในสังเวียนโคลอสเซียม
ว่ากันว่าฉลามขาวสืบทอดเผ่าพันธุ์มาจากปลากระดูกอ่อนยุคดึกดำบรรพ์
โดยมีบรรพบุรุษร่วมกับกับปลาฉนาก ปลาโรนัน และปลากระเบน
โดยปกติฉลามขาวมักจะโจมตีเหยื่อที่อยู่บริเวณผิวน้ำ
และนี่เองเป็นสาเหตุที่ปลาฉลามขาวโจมตีมนุษย์ที่ว่ายน้ำอยู่
เนื่องจากการเคลื่อนไหวของมนุษย์บนผิวน้ำนั้น
ทำให้พวกมันเข้าใจว่าเป็นสิงโตทะเลอาหารหลักของมัน
ทุกครั้งที่ฉลามขาวกัดเหยื่อ
มันจะปกป้องดวงตาของมันโดยการกลับลูกตาไว้ด้านใน ทำให้เห็นลูกตาเป็นสีดำ
ฉลามขาวมีประสาทรับกลิ่นที่ไวมาก ทันทีที่ได้กลิ่นคาวเลือด พวกมันจะมา
และโจมตีเหยื่อซึ่งไม่เว้นแม้กระทั่งพวกเดียวกันที่บาดเจ็บ
ที่มาข้อมูล
dek-d.com/board/view.php?id=893047
<
9 เรื่องที่คุณควรรู้เกี่ยวกับเขื่อนแม่วงก์ | 23 เม.ย. 2558 00:20 |
Chaff/Flare คืออะไร | 03 ธ.ค. 2559 07:15 |
ทำไมกินทุเรียนพร้อมโคล่า จึงมีอาการแน่นได้ | 30 มิ.ย. 2558 19:00 |
คุณหมอ เออร์วิน ช็อทส์ ถึงแก่กรรมแล้ว | 21 เม.ย. 2558 23:54 |
ป้าลูซี่ ที่แท้ตกต้นไม้เสียชีวิต | 19 พ.ย. 2559 03:42 |
1
I have to express my love for your kindness in support of men who require help on this one matter. Your real dedication to getting the solution up and down turned out to be exceedingly insightful and has frequently encouraged individuals just like me to arrive at their aims. Your amazing insightful recommendations implies a whole lot a person like me and especially to my mates. Regards; from everyone of us.
kd 12 shoes
ผู้โพส: kd 12 shoes วันที่:08 พ.ค. 2566 01:16 (บุคคลทั่วไป:120.33.194.xxx)
2
I and my buddies have been studying the great tips found on your website and so instantly developed an awful feeling I had not expressed respect to the web site owner for those strategies. Most of the men appeared to be consequently passionate to study all of them and have in fact been using these things. Appreciation for turning out to be very thoughtful and then for obtaining such smart resources most people are really needing to know about. My very own honest regret for not expressing appreciation to you earlier.
[url=http://www.hermesbagsonline.com]hermes bag[/url]
ผู้โพส: hermes bag วันที่:07 เม.ย. 2566 12:07 (บุคคลทั่วไป:27.153.180.xxx)