สภาพอากาศ อันตรายใกล้ตัวเมื่อทำการบิน
ขอบคุณ บทความดีๆจาก ไทยรัฐออนไลน์
http://www.thairath.co.th/content/491848
การบินเป็นการเดินทางไปในอากาศด้วยอากาศยานซึ่งจำเป็นต้องอาศัยอากาศเพื่อ พยุงให้อากาศยานลอยตัว และขับเคลื่อนไปในทิศทางที่ต้องการ ตามคุณลักษณะทางอากาศพลศาสตร์ (Aerodynamics) ของอากาศยานแต่ละแบบอากาศในชั้นบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลกไว้ตามธรรมชาติ มีคุณลักษณะทางกายภาพที่เป็นพลวัตคือมีความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด เวลา เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ที่อยู่นอกเหนือความสามารถในการควบคุมของมนุษย์เป็นปรากฏการณ์ที่มีผลกระทบ ต่อชีวิตมนุษย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งสภาพอากาศที่มีความแปรปรวนที่รวดเร็วและ รุนแรงจะก่อให้เกิดภัยพิบัติ ต่อชีวิตมนุษย์และทรัพย์สินได้ รวมทั้งภัยพิบัติในการบินด้วย
ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มีสภาพอากาศแปรปรวนรวดเร็วมีปรากฏการณ์หลายๆ อย่างเกิดขึ้นในอากาศและบางครั้งมีความรุนแรงมาก ทำให้เกิดเป็นอันตรายต่อการปฏิบัติการบินที่นักบินทั้งหลายมักจะประสบอยู่ เสมอคือ พายุฟ้าคะนอง (THUNDERSTROMS) ซึ่งนักบินทุกคนเคยได้รับการศึกษามาแล้วในวิชาอุตุนิยมวิทยาการบิน และถ้าหากได้สำรวจหนังสือ และบทความในด้านวิทยาการการบิน ซึ่งมีปรากฏอยู่ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษก็จะพบเรื่องเกี่ยวกับพายุฟ้าคะนองในเรื่องเกี่ยวกับการเกิด ลักษณะอากาศขณะเกิด ภัยอันตรายและข้อควรปฏิบัติเพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายโดยมุ่นเน้นอันตรายที่จะ เกิดต่อการปฏิบัติการบิน บทความที่ผู้เขียนได้เรียบเรียงเพื่อนำเสนอต่อเพื่อนๆ นักบินได้มาจากการรวบรวมข้อมูลจากเอกสารอ้างอิงที่ระบุไว้ท้ายบทความนำมา สรุปสาระสำคัญเผยแพร่เพื่อทบทวนความรู้ สำหรับเพื่อนนักบินนำไปใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติการกิจการบินในสภาพพายุฟ้า คะนองได้อย่างปลอดภัย
พายุฟ้าคะนอง
พายุฟ้าคะนอง (Thunderstorms)
เป็นลมกระโชกรุนแรงเริ่มก่อตัวจากเมฆคิวมูลัส (Cu)
เมื่อเมฆคิวมูลัสก่อตัวสูงขึ้นเนื่องจากกระแสอากาศมีการยกตัวขึ้นอย่าง
รุนแรงอากาศร้อนความชื้นสูงอากาศไร้เสถียรภาพแบบมีเงื่อนไข
จึงทำให้อากาศลอยตัวสูงขึ้นๆ และขยายตัวใหญ่ขึ้นกลายเป็นเมฆคิวมูโลนิมบัส
(Cu) ในที่สุดเป็นเมฆที่ทำให้เกิดฟ้าแลบ
ฟ้าร้องและฟ้าฝ่ายอดเมฆคิวมูโลนิมบัสมีรูปร่างแผ่ออกกว้างคล้ายรูปทั่ง
การเกิดพายุคะนองเกิดขึ้นได้ 3 ประเภท
1. พายุฟ้าคะนองเกิดจากมวลอากาศ
2. พายุฟ้าคะนองเกิดจากแนวปะทะ
3. พายุฟ้าคะนองเกิดบริเวณภูเขา
1.พายุฟ้าคะนองเกิดจากมวลอากาศ
เกิดขึ้นจากโลกได้รับความร้อนจากดวง
อาทิตย์
ทำให้พื้นดินรับความร้อนตามอากาศเหนือพื้นดินจึงมีการยกตัวลอยสูงขึ้นเกิด
เป็นเมฆคิวมูลัสและสามารถพัฒนากลายเป็นพายุฟ้าคะนองได้ ในตอนบ่ายและเย็น
2. พายุฟ้าคะนองเกิดจากแนวปะทะ
อาจเกิดจากแนวปะทะอากาศเย็น
หรือแนวปะทะอากาศอุ่นก็ได้ถ้าเกิดจากแนวปะทะอากาศเย็นจะมีลักษณะมวลอากาศ
เย็นเคลื่อนที่เข้าไปใต้มวลอากาศอุ่น
ยกตัวให้มวลอากาศอุ่นลอยสูงขึ้นและเย็นตัวลงกลายเป็นพายุฟ้าคะนองได้
ถ้าเกิดจากแนวปะทะอากาศอุ่นจะมีลักษณะมวลอากาศอุ่นเคลื่อนที่อยู่เหนือมวล
อากาศเย็นทำให้มวลอากาศอุ่นลอยตัวสูงขึ้น
เย็นตัวลงและขยายตัวออกกลายเป็นพายุฟ้าคะนองได้
เกิดจากการที่มวลอากาศยกตัวสูงขึ้นตาม ความลาดชันของภูเขา มวลอากาศจะเย็นลงและขยายตัวออก กลายเป็นพายุฟ้าคะนอง ซึ่งมีความร้ายแรงกว่า 2 แบบที่กล่าวคือ เมฆจะก่อตัวในแนวตั้งสูงมาก อากาศปั่นป่วนมาก
ลักษณะอากาศขณะเกิดพายุฟ้าคะนอง ได้แก่
1. เมฆทวีจำนวนมากขึ้นอย่างรวดเร็ว
2. ลมพัดแรงและลมกระโชกเป็นครั้งคราวอาจทำให้สิ่งก่อสร้างหักพังหรือต้นไม้หักโค่นได้
3. ฝนเริ่มตกและตกหนักในเวลาต่อมา อาจทำให้เกิดน้ำท่วมได้
4. บางครั้งเกิดลูกเห็บตกลงมา ซึ่งทำความเสียหายให้กับพืช ผักผลไม้ สัตว์เลี้ยง และสิ่งก่อสร้าง
5. เกิดฟ้าแลบ ฟ้าร้องและฟ้าผ่าอาจทำลายชีวิตของมนุษย์และสัตว์เลี้ยงได้
6. อาจเกิดลมงวงซึ่งทำลายชีวิตมนุษย์ สัตว์ต้นไม้ และสิ่งก่อสร้างได้
การเกิดพายุฟ้าคะนองแบ่งเป็น 3 ขั้นคือ
1. ขั้นก่อตัว (cumulus stage)
เมฆคิวมูลัสก้อนเล็กเริ่มขยายตัวมีกระแสอากาศไหลขึ้นจากฐานเมฆ
ด้วยอัตราเร็วประมาณ 26ฟุต/นาที
ภายในเมฆคิวมูลัสประกอบด้วยหยดน้ำขนาดเล็กมีการรวมตัวกันมีขนาดใหญ่ขึ้นตกลง
สู่เบื้องล่างแต่กระแสอากาศทำให้หยดน้ำขนาดใหญ่แตกเป็นหยดน้ำขนาดเล็กอีก
แล้วยกตัวขึ้นสู่เบื้องบน ภายในก้อนเมฆคิวมูลัสในระดับต่ำๆ
จึงประกอบด้วยหยดน้ำส่วนระดับสูงถึงระดับเยือกแข็ง (freezinglevel)
จะประกอบด้วยเกล็ดน้ำแข็งและหิมะ ขั้นนี้กินเวลานานประมาณ 10-15 นาที
ขั้นก่อตัว (culmulus stage)
3. ขั้นสลายตัว (dissipating stage)
ภายในคิวมูโลนิมบัสเมฆไม่มีกระแสอากาศไหลขึ้น
มีแต่กระแสอากาศไหลลงจากระดับต่ำถึงระดับสูงจนกระแสลมหยุดพัดฝนและหิมะหยุด
ตก พายุฟ้าคะนองค่อยๆ หมดไปอุณหภูมิ ของก้อนเมฆก็ค่อย ๆ
ปรับเท่ากับบริเวณใกล้เคียง อุณหภูมิจะสูงขึ้น ทุกอย่างเข้าสู่สภาพปกติ
กินเวลาประมาณ 30 นาที รวมเป็นเวลาของการเกิดพายุฟ้าคะนองนานประมาณ 1–2
ชั่วโมง
ขั้นสลายตัว (dissipating stage)
อันตรายของพายุฟ้าคะนองต่อการบิน บริเวณที่เป็นอันตรายของพายุฟ้าคะนองต่อการบินมิได้เกิดขึ้นเฉพาะบริเวณ ภายในหรือภายใต้พายุฟ้าคะนองเท่านั้นแต่ยังมีอันตรายในพื้นที่โดยรอบอีกด้วย นักบินจึงควรทำการบิน เพื่อหลีกเลี่ยง พายุฟ้าคะนองอย่างน้อย 10 นอติคอลไมล์ (18 กม.) หรือถ้าเป็นพายุที่รุนแรงมาก ควรบินให้ห่างถึง 20 นอติคอลไมล์ (36 กม.) ในอากาศยานที่มีการติดตั้งเรดาร์ตรวจอากาศ (Airborne weatherradar) นักบินจะรู้ถึงขนาดของบริเวณที่เกิดพายุฟ้าคะนองและสามารถพิจารณาเลือกเส้น ทางบินเพื่อหลีกเลี่ยงได้อย่างเหมาะสม แต่ถ้าเป็นอากาศยานที่ไม่มีเรดาร์ตรวจอากาศจำเป็นต้องใช้ การสังเกตจากสายตาของนักบิน และประสบการณ์ในการตัดสินใจหลีกเลี่ยง แต่บางครั้งก็เป็นเรื่องค่อนข้างยากหากมีเมฆมากและบดบังการเกิดพายุฟ้าคะนอง แต่อาจจะสังเกตจากฟ้าแลบได้ ถ้ามีฟ้าแลบเกิดขึ้นมากอาจจะแสดงถึงว่าเป็นพายุฟ้าคะนองที่ค่อนข้างรุนแรง อันตรายที่จะเกิดต่อการบิน กระแสลมที่พัดอย่างรุนแรงอาจทำให้เสียแนวบินที่ต้องการ สูญเสียการควบคุมอากาศยาน กระแสลมวนทำให้สูญเสียการควบคุมอากาศยาน ความเสียหายจากลูกเห็บ ที่เกิดกับลำตัวจากอากาศยาน หรือ wind shield ทัศนวิสัยลดลงและจำกัด ความเสียหายที่เกิดจากฟ้าผ่ารวมถึงความเสียหายต่อระบบไฟฟ้า และวิทยุของอากาศยาน เกิดการรบกวนในระบบการติดต่อสื่อสาร หรือระบบเครื่องช่วยเดินอากาศ
คำแนะนำสำหรับการบินในบริเวณที่เกิดพายุฟ้าคะนอง
ไม่ทำการขึ้นลงใน
พื้นที่หรือสนามบินที่กำลังเกิดพายุฟ้าคะนองเนื่องจากกระแสปั่นป่วนมีลมเกิด
ขึ้นอย่างรุนแรง และเปลี่ยนแปลงทิศทางอย่างกะทันหัน
และกระแสอากาศมวลวนในบริเวณนั้น
ในขณะทำการบินให้ทำการบินหลีกเลี่ยงบริเวณที่เกิดพายุฟ้าคะนองอย่างน้อย 10
นอติคอลไมล์ (18 กม.)
หรือหากเป็นพายุฟ้าคะนองที่รุนแรงควรบินให้ห่างอย่างน้อย 20 นอติคอลไมล์
โดยสังเกตจากจอแสดงภาพของเรดาร์ตรวจอากาศหากเป็นอากาศยานที่ไม่มีเรดาร์ตรวจ
อากาศติดตั้งให้สังเกตุด้วยสายตาจากกลุ่มเมฆที่ก่อตัวในแนวตั้ง
สายฝนที่กำลังตกหนัก
รวมทั้งการเกิดฟ้าแลบและฟ้าผ่าที่จะแสดงถึงบริเวณที่เกิดพายุฟ้าคะนอง
ทำการคาดและจัดปรับสายรัดตัวรัดไหล่ทั้งนักบินและผู้โดยสารรวมทั้งยึด ตรึงสิ่งของและอุปกรณ์ต่างๆ ในอากาศยานหากทำการบินในเวลากลางคืนควรเปิดไฟส่องสว่างในห้องนักบินเพื่อลด การสูญเสียการมองเห็นในเวลากลางคืนจากฟ้าแลบห้ามทำการบินใต้พายุฟ้าคะนอง เพราะในบริเวณนั้นมีกระแสลมปั่นป่วนรุนแรง มีลูกเห็บตกรวมทั้งฟ้าแลบ ฟ้าผ่า ซึ่งจะทำให้เกิดภัยพิบัติต่ออากาศยานได้มีคำแนะนำจากบทความเรื่องพายุฟ้า คะนอง (THUNDERSTROMS) ที่กล่าวไว้อย่างกระชับ และเข้าใจได้ง่าย คือ อย่าบินเข้าไปหามันให้บินเลี่ยงไปเสียทางอื่น ให้บินให้ห่างมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ หรือถ้าหันหลังกลับได้ก็จะยิ่งดี.
เอกสารอ้างอิง Airman’sInformation Manual May 8, 1986 The Pilot’s
ManualInstrument Flying Jan 1990 Instrument Commercial Manual Jeppensen
2001 FM 1- 230 Meteorology for Army Aviators
อุตุนิยมวิทยา ผศ.วิไลลักษณ์ ตั้งเจริญ พิมพ์ครั้งที่ 1 2540
พายุฟ้าคะนอง (Thunderstroms) เรียบเรียงโดย น.ท.เกรียงไกร แสนทวีสุข ลงพิมพ์ในหนังสือ Safety Information ฉบับที่ 70 – 71 ของกองทัพอากาศ
อาคม รวมสุวรรณ
E-Mail chang.arcom@thairath.co.th
Facebook https://www.facebook.com/chang.arcom
ขอบคุณ บทความดีๆจาก ไทยรัฐออนไลน์
http://www.thairath.co.th/content/491848
ไขข้อข้องใจ FWD mail ปั๊มหัวใจตัวเองด้วยการไอ...ใช้ได้จริงหรือว่ามั่ว?? | 13 ก.พ. 2559 21:14 |
หลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดสำหรับการกินเห็ดของมนุษย์ | 22 เม.ย. 2558 23:58 |
ดวงจันทร์เคยมีบ่อน้ำพุที่ปะทุเป็นไฟ | 26 ส.ค. 2558 21:31 |
&&--ทะเลแห่งความตาย ในยุคดึกดำบรรพ์--&& | 29 มี.ค. 2558 00:28 |
มหาวิทยาลัยของไทย ได้คิดค้นหมึกชนิดพิเศษราคาถูก สำหรับผู้พิการทางสายตา | 30 เม.ย. 2559 23:33 |
1
the north face womens zephyr triclimate 3 in 1 jacket for salewomens the north face denali hoodie awards nomineesnorth face womens fleece with hoodmens the north face windstopper jacket damen il
sporting life canada goose freestyle vest uk http://www.texasocclusalcenter.com/canadagoosefactory_en/sporting-life-canada-goose-freestyle-vest-uk
ผู้โพส: sporting life canada goos วันที่:14 ส.ค. 2561 04:29 (บุคคลทั่วไป:175.44.18.xxx)