Goodbye Spitzer ... Hello!! Herschell ... [ลาก่อนผู้เยาว์วัยอันยิ่่งใหญ่]


บทความโดย nOnG_WinZ
 จากพันทิป 19 พ.ค. 52 16:41:03
http://topicstock.pantip.com/wahkor/topicstock/2009/05/X7880026/X7880026.html




เมื่อ4 วันที่แล้ว ก่อนหน้าวันคล้ายวันเกิดผม 2 วัน มีเรื่องน่ายินดียิ่ง และเรื่องอันน่าเศร้าเกิดขึ้นพร้อมๆกัน 3 เรื่อง



เรื่อง ที่หนึ่ง ในที่สุด Nasa ก็ซ่อมเจ้ากล้องชราที่มีชื่อว่า Hubble เสียที หลังจากที่ปล่อยให้คาราคาซังมานาน หลังจากกระสวยอวกาศโคลอมเบียระเบิดตู้ม จนมีกระแสความห่วงใยในชีวิตนักบินอวกาศ แต่ในที่สุดหลังจากต่อสู้ฝ่าฟันกับโฟมที่หลุดมากระแทกปีกยาน และขยะอวกาศของจีน บัดนี้ ฮับเบิลผู้เพิ่งฉลองอายุปีที่ 19 ไปไม่นานได้รับการเยียวยาแล้วครับ





แต่นั่นไม่ใช่เรื่องหลักของวันนี้




สองเรื่องต่อมาที่ผมจับให้เป็นไฮไลท์ของกระทู้ คือผู้เยาว์วัยอันยิ่งใหญ่ที่เพิ่งจากไปเมื่อเช้าตรู่วันที่ 16 ตามเวลาบ้านเรา


กล้องโทรทรรศอวกาศ spitzer จากไปแล้วอย่างไม่มีวันกลับ หลังจากทำงานหนักมา 5 ปี ถึงเวลาเสียทีที่เขาจะได้พักอย่างสงบ


การ จากไปครั้งนี้ไม่ได้กระทบกระเทือนวงการดาราศาสตร์เท่าใดนัก เพราะรุ่นน้องคนใหม่นามว่า "Herschell" ได้ถูกส่งขึ้นไปปฏิบัติงานแทนรุ่นพี่เรียบร้อยด้วยพาหนะที่มีชื่อว่า "แอเรียน5" หร้อมผู้ร่วมเดินทางอย่าง "Planck"





เพื่อ เป็ฯการอำลาให้แก่ Spitzer ผู้กรำงานหนักมาตลอดชั่วอายุขัย เพื่อสดุดี แก่ความชอบที่เขาได้เปิดองค์ความรู้ใหม่มากมาย วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ "Spitzer ผู้เยาว์วัยอันยิ่่งใหญ่"








จากภาพ : Spitzer Space Telescope



Great Observation : 4 ดวงตาส่องจักรวาล






ดาว เทียม Spitzer เจ้าของรหัส 2003-038A ถูกส่งร่างอันมี้น้ำหนักศิริรวมแล้ว 950 กิโลกรัมสู่อวกาศเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม คศ.2003 เป็นหนึ่งในโครงการ Great Observatories ของ NASA ซึ่งประกอบด้วยดาวเทียม 4 ดวงนั่นคือ



1.Hubble Space Telescope

หรือ กล้องโทรทรรศอวกาศฮับเบิลที่เรารู้จักกันดี ปู่ฮับเบิลทำหน้าที่หลักเป็นดวงตามองใน visible light หรือช่วงคลื่นที่ตามองเห็น แต่ปู่เองก็พอมี ออพชั่นเสริมทำให้สามารถถ่ายภาพในช่วงคลื่น IR และ UV ได้ ปัจจุบันเจ้าคุณปู่มีอายุ 19 ปีดีดัก แก่เต็มทน ใกล้ปลดระวางเต็มที ไจโรตัวบอกทิศก็พังไป ซะ 4 จาก 6 เหลือ 2 ตัว เท่านั้นที่ใช้ได้

นัก วิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่าการเยียวยาครั้งสุดท้ายนี้ จะพ่อต่อชีวิตเจ้าคุณปู่ได้อีกราวๆ5 ปี คือถึงปี 2014 เท่านั้น และรุ่นน้องผู้ถูกทดแทน James Webb ที่ตอนนี้ข่าวเงียบหาย ไม่รู้เรื่องไปถึงไหนแล้วจะถูกส่งขึ้นมาทำงานต่อ


คุณปู่ฮับเบิล มีความใหญ่หน้ากล้องไม่มากไม่มาย แค่ 2.4 เมตรเท่านั้นเอง ใหญ่ประมาณผมสองคนต่อตัวกันหัวยังเลยหน้ากล้องปู่แกไปนิดเดียว โคจรสูงจากพื้นโลก 560 กิโลเมตรพอดิบพอดี หนึ่งวงโคจรใช้เวลาราว 96 นาที

คุณ ปู่ถูกส่งเข้าประจำการตั้งแต่ปี 1990 ในวันที่ 24 เมษายน อายุรวมตอนนี้ 19ปี 25 วัน ถ้าผมบวกลบเลขไม่ผิด อายุเท่านี้แกก็เลยอิดออดเป็นธรรมดา จะตายมิตายแหล่ เดี๋ยวนู่นพัง เดี๋ยวนี่พัง ประมาณข้าจะไป เอ็ง(นักดาราศาสตร์)ก็ยื้อข้าไว้อยู่นั้นแหละ... ถ้าเป็นคนก็ประมาณว่า หัวใจหยุดเต้นไปแล้วห้ารอบ มันก็ปั๊มขึ้นมา หยุดหายใจกรูก็ยัดสายอ๊อกซิเจนเข้าไป ส่วนไหนใช้ไม่ได้ตัดทิ้ง พอใช้ได้ก็ยื้อกันต่อไป ให้ทั้งเลือด ให้ทั้งน้ำเกลือ

ก็ปู่ยังมีประโยชน์นี่หว่าครับ.. อยู่กับพวกผมอีกนิดเหอะ ผม(NASA)ไม่มีงบทำกล้องใหม่

ส่วน เกียรติประวัติ ไม่ต้องพูดถึง พูดสามวันเจ็ดวันก็ยังไม่หมด เรียกว่าสร้างความหายนะ... เอ้ย !! ความดีความชอบมากมายให้แก่วงการดาราศาสตร์โลกอย่างหาที่เปรียบไม่ได้






จากภาพ : ลุงเบิ้ล


2.Compton Gamma Ray Observatory






จากรุ่น ปู่มารุ่นลุงบ้าง ลุงคอมพ์ตัน ตั้งชื่อตาม Arthur Holly Compton เจ้าของรางวัลโนเบลสาขา physic ในปี 1927 หลังจากค้นพบปรากฏการณ์การลดพลังงานของรังสีแกมมา และ รังสี X เมื่อมันปะทะกับสสาร เนื่องจากการเปลี่ยนระดับพลังงานของโฟตอน


ลุง Compton เข้าประจำการในวงโคจรหลังลุงเบิ้ลแค่ปีเดียว ในวันที่ 5 เมษายน คศ.1991 ลุงแกพกร้างอ้วนตุ้ยนุ้ยด้วยน้ำหนักกว่า 17 ตัน ลุงจึงครองความเป็นดาวเทียมที่หนักที่สุดตลอดช่วงชีวิตของแก

ลุง Compton ทำหน้าที่เป็นดวงตาสอดส่องในช่วงรังสีแกมมา รังสีที่มีพลังงานสูงที่สุดเท่าที่มนุษย์รู้จัก ลุง Compton ตรวจสอบพลังงานได้ตั้งแต่ 20 KeV จนถึง 30 GeV หน้าที่ส่วนใหญ่ของลุงคือตรวจสอบการระเบิดที่รุนแรงที่สุดในจักรวาลที่เรียก ว่า Gamma Ray Burst เป็นการระเบิดของดาวฤกษ์ซึ่งแต่เดิมมีมวลมหาศาลและได้หมดอายุขัยลง จุดจบของดาวฤกษ์เช่นนี้มี 2 อย่างเท่านั้น ไม่ดาวนิวตรอนก็หลุมดำ เนื่องจากพลังงานที่มหาศาล แต่ถูกปล่อยออกเป็นเวลาสั้นๆ การระเบิดรังสีแกมมานี้ จะส่งผลทำลายเป็นวงกว้างระยะทางไกลหลายสิบปีแสง โชคดีที่ GRB ที่เราเคยตรวจพบ อยู่นอกกาแลกซีเราทั้งหมด


ลุงคอมพ์ ปลดระวางเรียบร้อย เดธซะมอลเล่ในวันที่ 4 มิถุนายน คศ.2000 รวมอายุ 9 ปี 2 เดือน เป๊ะๆ







จากภาพ : ลุงคอมพ์


3.Chandra X-ray Observatory หรือ กล้องรังสีเอ๊กซ์จันทรา







น้า จันทร์เป็นกล้องตัวที่สามที่ถูกส่งขึ้นไปหลังปู่เบิ้ลและลุงคอมพ์ น้าจันทร์ตั้งชื่อตามนักดาราศาสตร์ฟิสิกส์ชาวอินเดีย สุบรามันยัน จันทรสิกขา เจ้าของรางวัล Nobel Prize ปี 1983 จากงานวิจัยเรื่องวิวัฒนาการดาวฤกษ์


น้าจันทร์ขึ้นประจำการในวัน ที่ 23 กค. 1999 หลังจากปู่เบิ้ล 9 ปี ตามอายุขัย น้าจันทร์ควรจะร่วงลงมาตั้งแต่ปี 2004 หรือ 5 ปีตามอายุขัยปกติ แต่จวบจนปัจจุบันจะ 10 ปีเข้าไปแล้ว น้าจันทร์ก็ยังทำงานรับใช้ชาวโลกอย่างขยันขันแข็ง ไม่อิดอ้อนแต่ประการใด


น้า จันทร์มีหน้าที่เป็นดวงตาสอดส่องในช่วงคลื่น X-Ray ซึ่งมีพลังงานต่ำกว่ารังสีแกมม่าที่ลุงคอมพ์ผู้ล่วงลับเป็นผู้รับผิดชอบ นอกจากนี้ในหมู่กล้อง X-ray ด้วยกัน น้าจันทร์มีความไวกว่ากล้องอื่นๆถึง 100 เท่าแบบไม่ได้โม้ !!


น้าจันทร์มีรูปร่างผอมเพรียวเรียว ยาวกว่ากล้องอื่นๆมาก เนื่องจากรังสี X มีอำนาจในการทะลุทะลวงสูง การจะรวมรังสี X มาไว้ในจุดเดียวเพื่อถ่ายภาพนั้น จะทำเหมือนกล้องทั่วๆไปไม่ได้เพราะรังสี X จะทะลุผ่านไปหมด จำเป็นต้องใช้เทคนิค "แฉลบ" โดยวางกระจกทำมุมน้อยๆให้รังสี X ค่อยๆหักเหเข้าสู่ปลายกระบอกกระจกทรงกรวยอันเป็นจุด Focus จุดเดียว


ด้วย สมรรถภาพที่น้าจันทร์มี หน้าที่หลักจึงไม่พ้นการ observ หลุมดำและดาวนิวตรอนที่มักจะแผ่ X-ray ออกมา ซึ่งตรงกับงานที่ สุบรามันยัน จันทรสิกขาผู้ล่วงลับได้ทำไว้






จากภาพ : กล้องรังสี X จันทรา

4.Spitzer Space Telescope






หลานสปิตเซอร์ เป็นกล้องตัวสุดท้ายที่ถูกส่งขึ้นประจำการแต่ม่องเท่งก่อนปู่เบิ้ลกับน้าจันทร์เสียอีก

หลาน ปิ๊ด ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ Lyman Strong Spitzer, Jr. นักฟิสิกส์ทฤษฎีผู้ยิ่งใหญ่ชาวอเมริกัน ผู้เสนอให้สร้างกล้องโทรทรรศน์บนอวกาศเป็นผู้แรก อาจเรียกได้ว่าเขาเป็นบิดาของ Great Observation ทั้ง 4 ก็คงไม่ผิดนัก

หลาน ปิ๊ดเป็นดาวเทียมดวงเดียวที่ไม่ได้ถูกส่งขึ้นด้วยกระสวยอวกาศ เนื่องจากหลานปิ๊ดต้องอัพโหลด Liquid Helium หรือ ฮีเลียมเหลวเป็นจำนวนมาก ทำให้นักดาราศาสตร์ไม่ไว้ใจ กลัวจะเกิดเหตุการณ์ซ้ำรอยแบบกระสวยอวกาศชาเลนเจอร์ในปี 1986 การขนส่งจึงใช้จรวด Delta II แทน







จากภาพ : จรวด delta II พาหนะของหลานปิ๊ด


รู้จักกับหลานปิ๊ด






หลาน ปิ๊ดถูกส่งจากแหลมคาร์นาเวรัล มณรัฐฟลอริดา ในวันที่ 25 สิงหาคม 2003 น้ำหนักตัว 950 กิโลกรัม รูปร่างสมส่วนคล้ายกล้องโทรทรรศทั่วไป ขนาดหน้ากล้องไม่ใหญ่ ไม่เล็ก อยู่ที่ 0.85 เมตร

หลานปิ๊ดถูกส่งมาทำ งานด้านรังสีใต้แดงโดยเฉพาะ จากออพชั่นต่างๆ ทั้ง IRAC หรือ กล้องถ่ายภาพย่าน IR , IRS Infrared Spectrometre และ MIPS เครื่องตรวจจับ IR ในย่านความถี่ต่ำ หรือที่เรียกว่า Far IR ทำให้หลานปิ๊ดมีสมรรถนะทำงานกับ IR ได้อย่างสูงสุด








จาก ภาพ : ตัวอย่างภาพถ่ายอินฟราเรด (นายแบบ : พี่วิภู  รุโจปการณ์ สุดยอดนักดาราศาสตร์ไทย ฮีโร่ของผม >w<,,) ภาพบนฉากคือภาพที่ได้จากกล้องอินฟราเรด สังเกตุว่าบริเวณตาไม่ค่อยร้อนเพราะมีแว่นกันอยู๋ บริเวณถ้วยกาแฟจะร้อนๆ เห็นเป็นสีแดงๆ นี่คือ IR ในช่วงความยาวคลื่น 3.8 - 8 ไมครอน


ข้อจำกัดของ spitzer กับอายุขัย








เนื่อง จากหลานปิ๊ด มีเครื่องมือถึง 3 ชนิดทำงานในย่านความถี่ที่ความยาวคลื่นสูงม๊าก มาก (มากแล้วเมื่อเทียบกับชนิดอื่น) นั่นคือ IR และ ช่วงคลื่น IR นี้ วัตถุแทบทุกชนิดต้องแผ่รังสีชนิดนี้ออกมา เพราะ IR คือรังสีความร้อน ดังนั้น หลานปิ๊ดจึงจำเป็ฯอย่างยิ่งที่จะต้องทำให้เครื่องมือของหลานปิ๊ดอยู่ในสภาวะ ที่ "เย็น" ตลอดเวลาเพื่อให้ผลที่ได้ออกมาไม่คลาดเคลื่อน หรือผิดเพี้ยนไปจากของจริง

นั่นคือเหตุผลที่หลานปิ๊ดต้องบรรทุก ฮีเลียมเหลียวจำนวน 95 แกลลอน เพื่อเป็ฯสารหล่อเย็นเครื่องมือเหล่านั้นให้มีอุณหภูมิคงที่อยู่ที่ 1.2 K ตลอดเวลา และ ฮีเลียมเหลวนี่เองที่เปรียบเสมือน "เลือด" คอยหล่อเลี้ยงให้ spitzer ทำงานได้อย่างแม่นยำ ถูกต้อง เมื่อใดที่ ฮีเลียมเหลวถูกใช้หมดไป เท่ากับว่าเมื่ออนั้นชีวิตของเจ้าปิ๊ดก็ต้องดับดิ้นลงไปด้วย...







จาก ภาพ : ตัวอย่างหนึ่งของการศึกษาระบบการเกิดใหม่ด้วยช่วงคลื่นอินฟราเรดคือ ทรีฟิด เนบิวลารูปนี้ ถ้าดูในช่วงคลื่นที่ตามองเห็น เราก็จะเห็นแนวฝุ่นหนาๆ ดูเหมือนแบ่งเนบิวลาเป็นสามแฉก ทำให้เราเรียกว่า ทรีฟิด ใช่ไหมครับ แต่ถ้าไปดูในช่วงคลื่น 24 ไมครอน ขวาล่าง ก็จะเห็นว่าส่วนมืดๆ ในแนวฝุ่นนั้นส่องแสงสว่างกว่าตัวเนบิวลาเสียอีก เพราะแสงจากเนบิวลาที่เราเห็นแดงๆ นั้นคือเส้นสเปกตรัมไฮโดรเจนอัลฟา (0.65 ไมครอน) ซึ่งตกกระป๋องไปแล้วเมื่อไปดูที่ 24 ไมครอน ส่วนรูปขวาบนนั้นคือรูปในช่วงคลื่น 3.8 - 8 ไมครอน ใกล้เคียงกับรูปแก้วกาแฟด้านบน  credit : พี่วิภู




วงโคจรอันแปลกประหลาด









หลายท่าน อาจยังไม่ทราบ ว่าหลานปิ๊ดไม่ได้มีวงโคจรเหมือนชาวบ้านทั่วไป เนื่องจากหลานปิ๊ดต้องการบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำมาก เพื่อรักษาอุณหภูมิของเครื่องมือไว้ และเพื่อความูกต้องแม่นยำละเอียดละออในการวัด หลานปิ๊ดจึงโคจรรอบดวงอาทิตย์ครับ ไม่ได้โคจรรอบโลก



หลาน ปิ๊ดโคจรรอบดวงอาทิตย์ในวงโคจรเดียวกับโลก โดยโคจรตามโลกไปเรื่อยๆ รักษาระยะห่างที่เท่าเดิมตลอด เราเรียกวงโคจรนี้ว่า Earth-Trailing ซึ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่าวงโคจรรอบโลก ซึ่งตำแหน่งวงโคจรนี้จะเคลื่อนออกห่างไปเรื่อยๆปีละประมาณ 0.1 AU นี่เป็นอีกข้อที่ทำให้หลานปิ๊ดมีอายุสั้น







จากภาพ : แสดงตำแหน่ง Earth-Trailing ของ kepler space telescope ซึ่งโคจรใน earth trailing เช่นเดียวกัน


เฮือกสุดท้ายของชีวิต







เครื่องมือที่ เรียกว่า cryostat ซึ่งเป็นเสทือนเครื่องวัดอุณหภูมิของอุปกรณ์เมื่อฮีเลียมเหลวถูกใช้จนหมด ในที่สุดเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคมที่ผ่านมา ตัวยานได้ตรวจพบการอุ่นขึ้นเล็กน้อยของ cryostat ซึ่งเป็ฯสัญญานบ่งชี้ว่า ฮีเลียมเหลวซึ่งเป็ณเสมือนเลือดของหลานปิ๊ดได้แห้งเหือดไปเรียบร้อยแล้ว หลานปิ๊ดได้เข้าสู่ช่วงสุดท้ายของชีวิต ก่อนที่มันจะเข้าสู่ความตายสนิทเมื่อมันเคลื่อนที่ออกจากวงโคจรมากเกินกว่า จะติดต่อได้

หลังจากนี้หลานปิ๊ดจะสูญเสียความแม่นยำ รวมถึงสมรรถภาพการทำงานที่เคยมีอยู่ไปเกือบหมด ตัวยานจะทำงานผิดปกติและเข้าสู่โหมดแสตนบายเพื่อรอให้นักดาราศาสตร์กู้กลับ ให้มันทำงานใหม่ใน warm mode

IRAC จะไม่สามารทำงานได้เหมือนเดิม จากช่องทางการใช้งานทั้งหมด 4 ช่องเพื่อตรวจวัด IR ใกล้ และกลาง จะสามารถทำงานได้เหลือเพียง 2 ช่องทางเท่านั้น จากที่เคยตรวจวัดดาวฤกษ์เกิดใหม่ที่ปลายจักรวาล การทำงานจะถูกย่นระยะเข้ามาอยู่ใกล้บ้านมากขึ้น

งานส่วนใหญ่ของมันจะ เปลี่ยนไป จากวัตถุไกลๆนับหมื่นล้านปีแสงจะกลายเป็นษาดาวเคราะห์นอกระบบไม่กี่พันปีแสง แม้มันจะไม่ตายสนิทจริงๆ แต่ยุครุ่งเรืองของมันก็ได้จบลงไปแล้ว...








จากภาพ : กาแลกซีแอนโดรเมดรา ในช่วงคลื่น Far IR ความยาวคลื่น 24 ไมครอน



เกียรติประวัติที่เหลือทิ้งไว้





หลานปิ๊ดทิ้ง ข้อมูลมากมายไว้ให้นักดาราศาสตร์ได้ปวดหัวเล่น รวมทั้งเปิดเผยภาพที่นักดาราาสตร์ไม่มีวันจะได้เห็นถ้าขาดหลานปิ๊ด เช่นภายใต้ฝุ่นหนาทึบนั้นมีอะไร? visible light คงบอกไม่ได้ แต่ IR บอกได้ชัดแจ้ง


นอกจากนั้นหลานปิ๊ดยังได้เปิดเผยข้อมูลสำคัญ เกี่ยวกับดาวฤกษ์เกิดใหม่ และ นิวเคลียสของกาแลกซีห่างไกล นั่นคือหลานปิ๊ดได้เปิดเผยข้อมูลยุคเริ่มแรกของการเกิดกาแลกซีใก้นักดารา ศาสตร์ได้ทราบ








จากภาพ : กระจุกดาวเกิดใหม่ในช่วงคลื่น IR เบื้องหลงกลุ่มฝุ่นมืดในอวกาศ



บทสรุปสุดท้าย







แม้หลานปิ๊ดจะยังสามารถทำ งานต่อได้อย่างจงรักภักดีกับเม็ดเงินมหาศาลที่ NASA ได้ลงทุนไป แต่ความยิ่งใหญ่ของมันก็ได้จบลงไปแล้วในเช้าตรู่วันที่ 16 พค. เมื่อเลือดของมันเหือดลง

แต่ระยะเวลาเพียง 5 ปี กว่าที่มันทำหน้าที่อย่างสมเกียรติ ข้อมูลที่ได้มานั้นหลายเรื่องเรียกว่าทั้งผลิกโฉม และทำให้กระจ่าง องค์ความรู้ ที่ไม่เคยมีใครรู้มาก่อน หลานปิ๊ดได้เปิดเผยออกมาให้หมดไส้หมดพุง เนบิวลามืดที่เปรียบเสมือนกำแพงกั้นนักดาราศาสตร์จากดาวฤกษ์เกิดใหม่ถายใน ถูกหลานปิ๊ดเปิดโปงเสียหมดสิ้น

วันนี้แม้ทำงานได้ไม่ดีเท่าเดิม แต่หลานสปิ๊ตเซอร์ยังคงทำงานต่อไปในงานด้านดาวเคราะห์นอกระบบ ก็ต้องรอกันต่อไปว่า จะมีข้อมูลอะไรอีกที่ดาวเทียมใกล้ตายอย่าง สปิตเซอร์จะตีแผ่ให้ชาวโลกได้รู้กัน

แต่เอาเพียงแค่ 5ปี ครึ่งที่ผ่านมานี้ หลานปิ๊ดได้ทำหน้าที่ของมันมากเกินกว่าคำว่า "สมเกียรติ สมราคา" แล้วครับ smile





ปล. ขอบคุณพี่วิภูมากๆครับ สำหรับการแจ้งข่าวผ่านทาง darasartonline.com

และภาพ สองภาพ ในกระทู้นี้



เพิ่มเติ่มข้อมูลโดยคุณ joejo99

ตามมาเพิ่มข้อมูล  ให้น้องวิน


กล้องทั้งสองตัวสร้างโดย องค์การอวกาศยุโรป (ESA: European Space Agency)

ด้วยความร่วมมือของชาติในกลุ่มยุโรป (งานนี้ไม่มีอเมริกานะครับ )  รวมถึงจรวด เอเรียนด้วย (อันนี้ฝรั่งเศส)




ยานทั้งทั้งมีข้อมูลที่ค่อนข้างน่าสนใจที่เดียวครับ

Herschell :   ข้อมูลเบื้องต้นอย่างที่น้องวิน กล่าวมาว่าจะขึ้นไปทำหน้าที่แทน  Spitzer

Plank :  ตัวนี้แหละทีเด็ด ยุโรป ไม่ใช่กล้องโทรทรรศน์อวกาศ แต่เป็นดาวเทียม งงมั๊ยหละเออ....
เป็นดาวเทียมที่เก็บข้อมูล รังสีไมโครเวฟพื้นหลังของจักรวาลครับ
(cosmic microwave background radiation; เรียกย่อว่า CMB, MBR, หรือ CMBR)  ก่อนหน้านี้ปล่อยให้อเมริกา ส่งนำร่องไปก่อนอย่าง WMAP with COBE  รวมถึงกล้องสายลับอย่าง Wilson บนพื้นดินด้วย

ซึ่งเป็นที่น่าสนใจว่าคณะทำงานเรื่อง CMBR ในอดีตล้วนได้รับรางวัล โนเบล ทั้งสิ้นครับ

หากเปรียบมวยกันแล้ว สุดยอดความหวังในแวดวงวิทยาศาสตร์ของยุโรปภาคพื้นดิน  ก็คือ CERN

ด้านอวกาศก็ คือ  Planck ตัวนี้แหละครับ  ^^






ยุโรปไม่ได้งก แต่ทุนไม่หนาอย่างอเมริกา แชร์เงินรวมกัน พวกตูก็เป็นหนึ่งในตองอูได้
ภาพนี้จะเห็นว่ายุโรปพยายามประหยัดค่าใช้จ่ายตัวเอง ด้วยการส่งครั้งเดียว สองโปรเจคยักษ์ ไปเลย
ดังนั้นทุกอย่างจะต้องตรงแปะๆ ตามมาตราฐาน(เยอรมัน 555)



ภาพจาก Wikipedia แสดงให้เห็นว่าทุกครั้งที่มีการพัฒนาด้วยอุปกรณ์ เราจะค้นพบความชัดเจนของเจ้า CMBR มาขึ้น


และแน่นอนว่า ประสิทธิภาพของ กล้อง พลางค์ นั้นต้องสุดยอดอยู่แล้ว(ของใหม่ก็ดีกว่าเป็นธรรมดา)

จากการประมาณข้องต้น พบว่าข้อมูลที่ พลางค์ จะเก็บได้ในหนึ่งปีนั้น ละเอียดกว่า WMAP ถึง 8 ปี !!!!!!

ภาพขั้นตอนการประกอบเจ้า Planck ครับ


กล้อง Herschel เองก็ใช่จะน้อยหน้านะครับ แค่ชื่อกล้องฟังก็ สะดุ้งแล้ว เพราะว่าตั้งตาม Sir Frederick William Herschel นักดาราศาสตร์ อังกฤษ เชื้อสายเยอรมัน ผู้ค้นพบ รังสี Infrared และดาวยูเรนัส จึงไม่แปลกที่จะให้เกียรติ มาตั้งเป็นชื่อกล้อง

Sir Frederick William Herschel  ก็มีน้องสาวนามว่า Caroline Lucretia Herschel  ซึ่งก็เป็นนักดาราศาสตร์

มีผลงานโดดเด็นจากการศึกษา ดาวหาง


ยังไม่จบครับ ลูกชายของ  Sir Frederick William Herschel     คือ

Sir John Frederick William Herschel, 1st Baronet

ก็เป็นนักดาราศาสตร์อีกเช่นกัน

- เป็นผู้ริเริ่ม ปฏิธิน Julian day มาใช้ในทางดาราศาสตร์
- เป็นผู้ตั้งชื่อให้กับดวงจันทร์ เจ็ดดวง ของดาวเสาร์ และดวงจันทร์อีก สี่ ดวงของดาวยูเรนัส ซึ่งผู้เป็นพ่อค้นพบ


ไม่จบแค่ลูชายนะครับ ยาวไปถึงรุ่นหลานปู่เลย

Alexander Stewart Herschel

ก็เป็นผู้บุกเบิกทางด้าน การถ่ายภาพสเปกตัมของดาวหาง meteor spectroscopy





Alexander  คนแรกทางซ้ายมือครับ ถ่ายรูปกับพี่ของอีกสองคนคือ  John และ William  รูปถ่ายขึ้นในปี 1870    ขณะนั้นมีตำแหน่ง Professor of Natural Philosophy ที่ Anderson s University


จบประวัติศาสตร์กล้องไป มาเริ่มชำแหละตัวกล้องกันดีกว่า  หุ......
 Herschel ประกอบด้วยอุปกรณ์หลักๆ สามอย่างครับคือ

-SPIRE

-HIFI

-PACS


HIFI

PACS

SPIRE

ของจริงเป็นแบบนี้

กระจกเว้า รวมแสง ใหญ่ขนาด



คณะนักวิทยาศาสตร์ และวิศวกร ผู้สร้างครับ

ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพโดยตรงครับ จาก ESA   (www.esa.int)  ครับ





แก้ไขเมื่อ 18 เม.ย. 2558 21:52

ผู้โพส: gunhotnews
วันที่: 18 เม.ย. 2558 21:49
จำนวนคนเข้าชมทั้งหมด:5335
หมวด: วิทยาศาสตร์

 

 

 

 

สุ่มกระทู้

 เมื่อประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาโบกมือลาจากตำแหน่ง จะได้รับสิทธิประโยชน์อะไรบ้างเพื่อรักษา เกียรติภูมิ แห่งผู้นำคนสำคัญของโลก  21 ม.ค. 2560 03:04

 ทำไมกินทุเรียนพร้อมโคล่า จึงมีอาการแน่นได้  30 มิ.ย. 2558 19:00

 เนบิวลานาฬิกาทราย  13 เม.ย. 2558 18:30

 วงแหวนไอน์สไตน์  09 เม.ย. 2558 00:56

 ฮอร์โมนอกอึ๋ม กินเข้าไประวังตายได้  07 ต.ค. 2559 17:37


1

I simply wanted to write a simple comment to say thanks to you for the superb hints you are placing on this site. My time consuming internet investigation has at the end of the day been honored with excellent information to share with my visitors. I would point out that we site visitors actually are unquestionably lucky to exist in a good network with very many outstanding people with good guidelines. I feel rather lucky to have used your website page and look forward to many more pleasurable times reading here. Thanks once more for everything. jordan 13

ผู้โพส: jordan 13          วันที่:26 มี.ค. 2566 00:46          (บุคคลทั่วไป:27.153.181.xxx)

X
Loading........

2

I happen to be commenting to let you be aware of of the superb discovery my girl developed going through your blog. She even learned numerous details, with the inclusion of what it is like to have an awesome teaching heart to have other folks without difficulty learn specified tortuous subject areas. You really exceeded our expectations. Thank you for distributing these great, safe, edifying and fun tips about that topic to Jane. jordan 1 high

ผู้โพส: jordan 1 high          วันที่:04 ธ.ค. 2565 15:49          (บุคคลทั่วไป:110.89.41.xxx)

X
Loading........

3

ผู้โพส: swiftgrocer          วันที่:07 พ.ค. 2562 18:42          (บุคคลทั่วไป:36.248.162.xxx)

X
Loading........

4

ผู้โพส: milajerdchat          วันที่:07 พ.ค. 2562 18:41          (บุคคลทั่วไป:36.248.162.xxx)

X
Loading........

5

ผู้โพส: lukonsult          วันที่:06 พ.ค. 2562 09:31          (บุคคลทั่วไป:175.44.32.xxx)

X
Loading........

6

ผู้โพส: trechadental          วันที่:06 เม.ย. 2562 20:45          (บุคคลทั่วไป:112.111.172.xxx)

X
Loading........
1

ไปหน้าที่
 


  แสดงความคิดเห็น
 
 
 
ชื่อ
กรุณากรอกข้อความตามภาพ    *ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ทุกตัวและมีอักษรภาษาไทยผสม 
อัพโหลดรูปที่นี่ และนำโค๊ด HTML Code มาใส่ในข้อความที่ต้องการ