ทำไมหน้าต่างเครื่องบินต้องเป็นรูปทรงกลม?


เนื้อหา แปลและเขียนโดยคุณ จากเว็บไชต์ vcharkarn.com
http://www.vcharkarn.com/vnews/504201
gunhotnews ขอขอบคุณครับ


หนึ่งคำถามที่เราอาจจะ เคยนึกสงสัยอย่างไม่มีเหตุผลขณะที่กำลังนั่งอยู่ในเครื่องบินก็คือทำไม หน้าต่างของเครื่องบินถึงต้องเป็นรูปทรงกลมเสมอ? มันเป็นดีไซน์ที่ทางสายการบินเป็นคนเลือกหรือเปล่า? หรือว่ามันมีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์บางอย่างอยู่เบื้องหลังกันแน่? คำตอบนั้นค่อนข้างจะตรงไปตรงมาอย่างที่สามารถดูได้จากวิดีโอด้านล่าง แต่วิศวกรรมที่อยู่เบื้องหลังของกระจกเครื่องบินนั้นสุดยอดทีเดียว


ก่อนอื่นเลยก็คือว่ากระจกเครื่องบินนั้นไม่ได้เป็นทรงกลมมาโดยตลอด โดยในช่วงแรก ๆ ของการบินนั้นเครื่องบินก็มีหน้าต่างเป็นรูปสี่เหลี่ยม เหมือนอย่างกับที่เรามีในบ้านของเรานั่นแหล่ะ แต่เมื่อเครื่องบินนั้นมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมากขึ้น พวกมันถูกสร้างให้บินสูงขึ้นเนื่องจากเหตุผลหลายอย่าง เช่น เพื่อหลีกเลี่ยงสภาวะอากาศแปรปรวนในชั้นบรรยากาศต่ำ ๆ ลดแรงต้าน และลดการใช้น้ำมัน เป็นต้น ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ก็คือ ห้องเครื่องนั้นต้องได้รับการรักษาความดันอากาศภาย ในเพื่อที่ผู้โดยสารจะได้ไม่รู้สึกอึดอัดในชั้นบรรยากาศที่มีออกซิเจนน้อย กว่าปกติ

ห้องเครื่องที่ถูกปรับความดันอากาศนั้นจะต้องเป็นทรงกระบอกเพื่อที่จะทำงาน ได้อย่างถูกต้อง และนั่นทำให้เกิดความแตกต่างของความดันระหว่างอากาศภายในและภายนอกซึ่งจะ เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเครื่องบินบินสูงขึ้น ซึ่งตัวเครื่องบินนั้นจะขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ทำให้เกิดความเครียดและ ความเค้น (stress and strain) ขึ้นกับตัววัสดุ และตรงนี้เองเป็นที่ ๆ รูปทรงของหน้าต่างนั้นกลายมาเป็นสิ่งสำคัญ

 


สำหรับทรงกระบอกที่กลมจริง ๆ นั้นความเครียดจะเคลื่อนตัวไปอย่าง เรียบ ๆ ทั่ววัสดุ ซึ่งการไหลนั้นได้ถูกรบกวนจากการติดหน้าต่างเข้าไป ซึ่งถ้าหากหน้าต่างนั้นเป็นทรงสี่เหลี่ยมล่ะก็ การรบกวนการไหลของความเครียดนั้นก็จะมีมากยิ่งขึ้น และแรงดันก็จะก่อตัวสูงขึ้นในจุดที่เป็นมุมแหลมและสามารถทำให้กระจกแตกรวม ถึงทำให้ตัวเครื่องบินมีรอยร้าวได้ในที่สุด ซึ่งถ้าหากหน้าต่างเป็นรูปวงรีแล้วล่ะก็ ระดับของความเครียดก็จะถูกกระจายออกไปให้สมดุลได้

น่าเสียดายที่ต้องมีเหตุ เครื่องบินตกถึงสองลำและงานวิจัยชั้นยอดอีกหนึ่งชิ้นกว่าที่วิศวกรจะรู้สึก ตัวถึงปัญหาที่หน้าต่างสี่เหลี่ยมเป็นตัวการ ซึ่งเครื่องบินทั้งหมดหลังจากนั้นได้ถูกออกแบบโดยมีหน้าต่างเป็นรูปทรงกลม เพื่อที่จะป้องกันความมั่นคงของลำตัวเครื่องบิน และมันก็เป็นเช่นนั้นโดยตลอดมา

หลักการเดียวกันก็ได้ถูกใช้กับทั้งประตูห้องเก็บสัมภาระและประตู้ห้อง เครื่อง และแน่นอนหน้าต่างรูปทรงกลมนั้นก็ยังได้ถูกใช้ทั้งในเรือและยานอวกาศเนื่อง จากความมั่นคงทางโครงสร้างที่มากกว่าของมันนั่นเอง

นอกจากนั้นเราก็อาจจะสงสัยเกี่ยวกับรูเล็ก ๆ ที่มีอยู่ในหน้าต่างเครื่องบิน ทุกบานด้วย ซึ่งมันก็มีไว้เพื่อจัดการแรงดันและความตึงที่ก่อตัวขึ้นระหว่างแรงดันภายใน และภายนอกเช่นกัน โดยหน้าต่างแต่ละบานนั้นจริง ๆ แล้วนั้นมีสามชั้น และรูที่เราเห็นนั้นช่วยทำให้แรงดันอากาศระหว่างชั้นนอกและชั้นกลางสมดุลกัน ซึ่งผลที่ได้ก็คือ แรงดันของห้องเครื่องนั้นก็จะไปลงที่หน้าต่างชั้นนอกเท่า นั้นโดยมีหน้าต่างชั้นกลางไว้เวลาเกิดเหตุฉุกเฉิน

เท่านี้เราก็ทราบเหตุผลแล้วว่าทำไมหน้าต่างถึงต้องเป็นรูปทรงกลม?  ต่อไปหาก ต้องพูดคุยกับคนแปลกหน้าที่นั่งข้างเราบนเครื่องบินแล้วล่ะก็  เราก็สามารถที่จะทำให้เขาประทับใจได้ด้วยความรู้ทางวิศวกรรมของคุณ

ที่มา : www.sciencealert.com/watch-there-s-a-scientific-reason-for-why-aeroplane-windows-are-always-round

เนื้อหา แปลและเขียนโดยคุณ จากเว็บไชต์ vcharkarn.com
http://www.vcharkarn.com/vnews/504201
gunhotnews ขอขอบคุณครับ


ผู้โพส: gunhotnews
วันที่: 15 มี.ค. 2559 23:26
จำนวนคนเข้าชมทั้งหมด:7734
หมวด: วิทยาศาสตร์

 

 

 

 

สุ่มกระทู้

 เฮลิคอปเตอร์ใบพัดคู่ ที่สามารถเร่งความเร็วได้กว่า 440 กิโลเมตรต่อชั่วโมง  04 มิ.ย. 2558 14:58

 หลักการทำงานของเครื่องยนต์เจ็ทของเครื่องบิน  27 พ.ค. 2558 16:42

 กระเทียมกับคุณสมบัติที่อาจช่วยปัญหานกเขาไม่ขัน  28 มี.ค. 2559 21:26

 <<อันตราย>> สรุปเรื่องนวดคอให้หลับ  09 ต.ค. 2559 07:03

  อนาคตแห่ง Internet of Things ด้วย Windows 10 IoT  18 พ.ค. 2558 21:20


1

Your home is valueble for me. Thanks!? golden goose skystar

ผู้โพส: golden goose skystar          วันที่:04 พ.ค. 2566 06:43          (บุคคลทั่วไป:120.33.194.xxx)

X
Loading........

2

ผู้โพส: tkbelazig          วันที่:01 พ.ค. 2562 15:42          (บุคคลทั่วไป:36.248.162.xxx)

X
Loading........
1

ไปหน้าที่
 


  แสดงความคิดเห็น
 
 
 
ชื่อ
กรุณากรอกข้อความตามภาพ    *ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ทุกตัวและมีอักษรภาษาไทยผสม 
อัพโหลดรูปที่นี่ และนำโค๊ด HTML Code มาใส่ในข้อความที่ต้องการ